บทความ
ทำความรู้จัก Load Balancer ตัวช่วยสำคัญในการจัดการระบบเซิร์ฟเวอร์ ในการดำเนินงานทางธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจที่ต้องรับมือกับ traffic ปริมาณมาก ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ โลจิสติกส์ องค์กรทางการเงิน และอื่น ๆ อีกมากมาย เหล่านี้จะเป็นกลุ่มธุรกิจที่จะต้องเผชิญปัญหาการจัดการระบบเซิร์ฟเวอร์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ Load Balancer จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าว Load Balancer คืออะไร? Load Balancer คือระบบกระจาย request จากการใช้งานของ user หรือ client ไปยังแอปพลิเคชันหรือเซอร์วิสที่อยู่ในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ เพื่อลดภาระของเครื่องและลดเวลา downtime ของระบบเมื่อเกิดปัญหาจากการใช้งานของ user ปริมาณมาก ข้อดีของ load balancer คืออะไร เพิ่มประสิทธิภาพให้ระบบ application หรือ service โดยสามารถ scale-out ด้วยการทำ load balancing ในกรณีที่ต้องการรองรับการใช้งานของ user ที่มีจำนวนมากขึ้น เราสามารถที่จะเพิ่มจำนวนของ application หรือ…
ระหว่าง File, Block และ Object Storage แบบไหนเหมาะกับแอปพลิเคชันของคุณมากที่สุด? ปัจจุบัน เทคโนโลยีนับว่าเป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งขององค์กร เนื่องจากการแข่งขันทางเทคโนโลยีที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด ส่งผลให้ธุรกิจจำเป็นต้องวิ่งตามการพัฒนาเหล่านี้ให้ทันท่วงที เพื่อปรับตัวธุรกิจให้เข้าสู่ยุคดิจิทัลและไม่ให้ล้าหลังจนเกิดข้อเสียเปรียบทางการค้า ‘cloud storage’ ก็เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะใช้บริการนั้น องค์กรจำเป็นต้องทำความรู้จักกับ cloud storage แต่ละประเภทเสียก่อน เพื่อเรียนรู้และทำความเข้าใจความแตกต่าง ดังนั้น NIPA Cloud จึงขอพาทุกคนมารู้จักกับ cloud storage แต่ละประเภทว่าเป็นยังไง มีข้อดี-ข้อเสียยังไง และแบบไหนที่เหมาะกับแอปพลิเคชันของคุณมากที่สุด File Storage File storage คือ รูปแบบการจัดเก็บไฟล์แบบลำดับชั้น ได้แก่ ไฟล์และโฟลเดอร์ โดยสามารถเก็บไฟล์ได้มากกว่าหลายล้านไฟล์ (Terabytes) แต่ไม่ได้ถูกออกแบบมาสำหรับเก็บข้อมูลมากกว่าพันล้านไฟล์ (Petabytes) ส่วนมากจะแบ่งข้อมูลด้วยโครงสร้างของ Directory สามารถอ่านเขียนข้อมูลพร้อม ๆ กันได้ (read/write many per host/VM) ทำให้สามารถจัดการด้านการกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงไฟล์ได้ถึงระดับผู้ใช้งาน ข้อดีข้อสำคัญของ file…
Unicorn Tech Integration จับมือ NIPA Cloud สู่พาร์ตเนอร์ระดับ Platinum Member เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2565 เพื่อสนับสนุนธุรกิจให้พร้อมก้าวเข้าสู่ยุคเทคโนโลยี
7 ข้อดี Open Source เทคโนโลยีแห่งอนาคตสำหรับการพัฒนาคลาวด์ เมื่อพูดถึงคลาวด์ เรามักนึกถึงผู้ให้บริการเจ้าใหญ่ ๆ ที่มีการพัฒนา public cloud ด้วยซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นเอง แต่ในตลาดคลาวด์ไม่ได้มีแค่ผู้ให้บริการรายใหญ่เหล่านี้เพียงเท่านั้น ยังมีผู้ให้บริการคลาวด์ที่พัฒนา public cloud ด้วยเทคโนโลยีที่เรียกว่า ‘open source’ คือการใช้เทคโนโลยีตัวเดียวกันพัฒนาผลิตภัณฑ์และปรับปรุงข้อผิดพลาดร่วมกันในคอมมิวนิตี้ทั่วโลก จนก่อให้เกิดบริการคลาวด์และ data center นี้กระจายอยู่เป็นจำนวนมาก ว่าแต่เทคโนโลยี open source สำคัญต่อการพัฒนาคลาวด์ยังไง วันนี้ NIPA Cloud จะขอพาทุกท่านมาเข้าใจประโยชน์ 7 ประการของ open source จากบทความ “7 Reason Why Open Source Is Critical for Cloud Development” โดย Irfan Ak เพื่อให้เห็นภาพให้มากขึ้นว่า open source เป็นอนาคตอันสำคัญของวงการคลาวด์อย่างแท้จริง 1.…
3 การพัฒนา Fabric Network ใน NIPA Cloud Space สู่คลาวด์ที่ดีที่สุด เชื่อว่าหลายคนคงทำความรู้จักกับ Fabric Network ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และทราบดีว่า NIPA Cloud นั้นได้เข้าร่วมบรรยายในหัวข้อ “How we designed an OpenStack Public Cloud at Scale with Fabric Networking” ณ งานประชุมสุดยอด OpenInfra Summit Berlin 2022 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา โดยมีการพูดถึงการวิจัยและพัฒนา public cloud จากเทคโนโลยี OpenStack จนก้าวสู่การเป็นผู้นำด้านการให้บริการคลาวด์ระดับประเทศได้ เมื่อพูดถึง Fabric Network หนึ่งในการพัฒนา public cloud ที่มีความโดดเด่นใน ‘NIPA Cloud…
Fabric Networking โครงสร้างพื้นฐาน กับการแก้ปัญหาสู่ความสมบูรณ์แบบ ผ่านไปแล้วกับงาน OpenInfra Summit Berlin 2022 ที่ผ่านมา ซึ่งทาง NIPA Cloud ได้รับเกียรติให้ขึ้นบรรยายในหัวข้อ “How we designed an OpenStack Public Cloud at Scale with Fabric Networking” ซึ่งเป็นการเล่าถึงการออกแบบ OpenStack Public Cloud ในระดับสเกลด้วย Fabric Networking โดยในครั้งนี้เราจะคุยภาพรวมของ Fabric Networking กัน Fabric Networking คืออะไร? Fabric Networking หรือ โครงสร้างเครือข่าย เป็นโครงข่ายของการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์เครือข่าย ไม่ว่าจะเป็น จุดเข้าใช้งาน สวิตช์ และเราเตอร์ที่ส่งข้อมูลไปยังปลายทาง “Fabric” อาจหมายถึงการเดินสายที่ประกอบขึ้นเพื่อใช้สำหรับการเชื่อมต่อ แต่โดยปกติแล้วจะหมายถึงโครงข่ายเสมือนแบบอัตโนมัติของการเชื่อมต่อแบบโอเวอร์เลย์ของโครงสร้างทางกายภาพ Fabric Networking ตัวช่วยสำคัญในการแก้ไขปัญหาเดิม…
ทำความรู้จักกับ OpenStack คืออะไร Open Stack เป็นชุดระบบซอฟต์แวร์ Open Source ใช้ทำระบบ cloud แบบ Infrastructure as a Service (IaaS) ผู้ริเริ่มโครงการนี้คือ Rackspace และ NASA นอกจากนี้ Open Stack ยังเป็นโครงสร้างพื้นฐานของระบบคลาวด์ ซึ่งเป็นระบบเสมือนจริงที่ต้องมีความน่าเชื่อถือ เราต้องเข้าใจระบบของ VM และสามารถวิเคราะห์ได้เมื่อต้องใช้งานร่วมกับ Open Stack สามารถวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของ Open Stack VMs ได้จาก Python, Fabric และ R เมื่อมีผู้ใช้งานสองคนส่งคำร้องขอให้สร้างระบบเสมือนจริงพร้อมกัน ระบบจึงจำเป็นต้องเลือก แต่วิธีการเลือกของ Open Stack นั้นมีความซับซ้อน คุณต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจผ่านการเรียนการสอนของ Open Stack บางครั้งผู้ใช้จะมีภาพระบบคลาวด์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในระบบอื่น ในทุกๆ เดือนเราจะพบข้อมูลใหม่สำหรับการจัดเรียงข้อมูลแบบ Heat, OpenStack’s orchestration ซึ่งเป็นการแนะนำวิธีง่ายๆ เกี่ยวการใช้สภาพแวดล้อม สามารถปรับขนาดได้โดยอัตโนมัติ สิ่งที่ทำให้ Open Stack มีประโยชน์มากที่สุดคือ การจัดการกับเครื่องมือคำสั่งและอินเทอร์เฟซเว็บชุด APIs ซึ่งนักพัฒนา Software สามารถใช้ในการเขียนแอพพลิเคชันที่จัดเตรียมทรัพยากรภายใน Open…
พบกับ Flextainer บริการ Platform-as-a-Service ใหม่จาก NIPA Cloud บริการ Platform-as-a-Service หรือ PaaS เป็นหนึ่งในสามบริการ Cloud อันได้แก่ SaaS, PaaS และ IaaS ที่จะอำนวยความสะดวกองค์กรในการใช้บริการคลาวด์ให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด โดย PaaS เป็นเครื่องมือที่ให้นักพัฒนาแอปพลิเคชันหรือซอฟต์แวร์ได้มาใช้บริการพร้อมเครื่องมือมากมาย โดยที่นักพัฒนาเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องดูแลฮาร์ดแวร์ด้วยตัวเอง ทำให้ง่าย สะดวก รวดเร็ว และลดค่าใช้จ่ายอีกด้วย ล่าสุด NIPA Cloud บริษัทที่ค้นคว้าและพัฒนา cloud platform ในประเทศไทยผ่านเทคโนโลยี Open source และให้บริการไปยังทั่วโลก ได้เปิดตัวบริการแพลตฟอร์มใหม่ ‘Flextainer’ ที่ออกแบบมาให้สามารถบริหารและจัดการ Docker, Kubernetes, Load Balancer และการใช้งานแบบ Auto Scale พร้อมคุณสมบัติต่าง ๆ มากมาย มาดูกันว่า PaaS ของเรานี้มีฟีเจอร์อะไรบ้าง ลดความซับซ้อนในการจัดการ Cloud…
ไขข้อข้องใจ SaaS, PaaS, IaaS คืออะไร และแตกต่างกันยังไง? อย่างที่รู้กันว่าในปัจจุบัน รูปแบบการให้บริการ Cloud นั้นมีด้วยกัน 3 รูปแบบ ได้แก่ SaaS, PaaS และ IaaS ซึ่งเราได้ทำความรู้จัก PaaS ไปเบื้องต้นแล้ว บทความนี้จึงขอพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับบริการทั้ง 3 รูปแบบให้มากขึ้น โดยจะอธิบายให้เห็นถึงความแตกต่างและตัวอย่างของการให้บริการในแต่ละรูปแบบด้วย Software-as-a-service หรือ SaaS เป็นบริการซอฟต์แวร์พร้อมใช้งานที่ผู้ใช้บริการสามารถใช้งานผ่านอินเทอร์เน็ต โดยสามารถสมัครสมาชิกและเข้าใช้งานได้ทันที ซอฟต์แวร์ดังกล่าวทำงานอยู่บนคลาวด์ โดยผู้ให้บริการเป็นผู้ดูแลทั้ง software และ hardware เอง ตัวอย่าง SaaS เช่น Microsoft Office 365, Google Workspace, Dropbox เป็นต้น Platform-as-a-service หรือ SaaS เป็นบริการแพลตฟอร์มบนคลาวด์ ที่มี framework หรือ tools เพื่อช่วยให้ Developer…
องค์กรในปัจจุบันเผชิญกับความท้าทาย โดยเฉพาะในด้านการปรับใช้และจัดการธุรกิจบริการออนไลน์ ซึ่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา Cloud ถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นขนาดเล็ก ขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่ คลาวด์ คือส่วนสำคัญในการก่อให้เกิดการคิดค้น และพัฒนาโซลูชันต่าง ๆ ร่วมกันได้ ผ่านแพลตฟอร์มโฮสติ้งบนคลาวด์ หรือที่เรียกว่า Platform-as-a-Service (PaaS) PaaS และ K8s เป็นเครื่องมือสำคัญในการอำนวยความสะดวกให้กับเหล่านักพัฒนาในการคิดค้น พัฒนาให้สะดวก ง่าย และรวดเร็วยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นซอฟต์แวร์ ระบบต่าง ๆ หรือแอปพลิเคชั่น PaaS ซอฟต์แวร์บนคลาวด์ ตัวกลางเชื่อมต่อการทำงานร่วมกัน PaaS เป็นซอฟต์แวร์บนระบบคลาวด์ ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงบริการได้ในวงกว้าง ตั้งแต่ระบบไปจนถึงฐานข้อมูล รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อทำให้สามารถรวบรวมแอปพลิเคชันต่าง ๆ ที่ถูกปรับแต่งด้วยความสามารถที่หลากหลาย เช่นเดียวกับรูปแบบ “as-a-Service” อื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น Infrastructure-as-a-Service (IaaS) หรือ Software-as-a-Service (SaaS) Kubernetes หรือ K8s ตัวช่วยจัดสรรทรัพยากรได้อย่างอัตโนมัติ Kubernetes…
NIPA Cloud ให้ความสำคัญกับ Instance อย่างมาก โดย CPU ของ Instance ใน NIPA Cloud Space แต่ละตัวจะแยก core CPU ไปในแต่ละ Instance ทำให้ประสิทธิภาพของ Instance ดีขี้นเป็นอย่างมากเมื่อเทียบกับตัวเดิม
การเปลี่ยนแปลงของ NIPA Cloud Space ในส่วนของ Volume จะมีการเพิ่ม option performance type ที่หลากหลายมากขึ้น และสามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมในการใช้งาน โดยปัจจุบันทาง NIPA Cloud Space มี 3 performance types ซึ่งประกอบด้วย premium SSD, standard SSD และ standard HDD โดย IOPS และ thoughput ของแต่ละ performance type จะเพิ่มขึ้นตามขนาดของ Volume ด้วย ซึ่ง performance type ที่ดีที่สุด จะมี IOPS read-write ถึง 100K และ Throughput read-write มากถึง 25,000 MBps
NIPA Cloud Space คลาวด์รุ่นใหม่จาก NIPA Cloud คลาวด์ที่ออกแบบและพัฒนาขึ้นเพื่อตอบโจทย์การใช้งานของคนไทยมากที่สุด การเปลี่ยนแปลงของ NIPA Cloud Space
EP.2 Instance NIPA Cloud Space คลาวด์รุ่นใหม่จาก NIPA Cloud คลาวด์ที่ออกแบบและพัฒนาขึ้นเพื่อตอบโจทย์การใช้งานของคนไทยมากที่สุด หนึ่งใน characteristic ที่สำคัญมาก ๆ ของคลาวด์ คือการ scalable หรือการย่อขยายขนาดของ resource โดย Nipa Cloud Space เวอร์ชั่นใหม่จะเป็น volume storage ทั้งหมด ซึ่งแยก layer ของการ computing ออกจาก layer ของ storage ทำให้สามารถ scale up – down instance ได้อย่างอิสระ และในการใช้ volume storage นี้ยังส่งผลให้ง่ายต่อการ backup และ recovery data ใน storage อีกด้วย ในด้านความปลอดภัย การเปลี่ยน password…
NIPA Cloud Space คลาวด์รุ่นใหม่จาก NIPA Cloud คลาวด์ที่ออกแบบและพัฒนาขึ้นเพื่อตอบโจทย์การใช้งานของคนไทยมากที่สุด การออกแบบและพัฒนา platform เป็นส่วนสำคัญในการสร้างประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน โดย NIPA Cloud Space ได้ทำการออกแบบ User Interface และปรับปรุงความลื่นไหลในการใช้งานฟีเจอร์ต่าง ๆ ให้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งยังมีการเพิ่มข้อมูลรายละเอียดการตั้งค่าต่าง ๆ เพื่อช่วยให้ผู้ใช้ใหม่สามารถทำความเข้าใจระบบได้เร็วขึ้น เช่น ระบบการสมัครสมาชิกและการเข้าสู่ระบบ ที่คงไว้ซึ่งการรักษาความปลอดภัยขั้นสูง และคำนึงถึงการใช้งานที่สะดวกไปพร้อม ๆ กัน อีกหนึ่งฟีเจอร์ที่มีความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ คือการ Launch Instance ที่แต่เดิมผู้ใช้ใหม่มักจะประสบปัญหาในการเรียนรู้เพื่อใช้งานในช่วงเริ่มต้น ทางทีม Product จึงได้พยายามทำความเข้าใจผู้ใช้งานและออกแบบ flow ในการ launch instance แบบใหม่ สำหรับการแนะนำการตั้งค่าเบื้องต้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้ใหม่เข้าใจและสามารถใช้งาน NIPA Cloud Space ได้อย่างง่ายดาย และสามารถเห็นรายละเอียดค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นได้อย่างชัดเจนก่อนทำการ launch อีกด้วย นอกจากการพัฒนาในด้าน User Interface…
เมื่อช่วงปลายปี 2564 ได้มีการกล่าวถึงศัพท์ในแวดวงไอทีคำหนึ่งอย่างแพร่หลายทั่วโลก คือคำว่า ‘metaverse’ หรือ เมตาเวิร์ส พร้อมกันกับที่ Mark Zuckerberg ผู้ก่อตั้งและ CEO ของบริษัท Facebook ประกาศเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น ‘Meta’ และยังมีวิดีโออธิบายถึงภาพของ metaverse ในองค์รวมแบบเข้าใจง่าย และแนวทางของ Facebook หรือ Meta ในอนาคต แสดงให้เห็นว่าแวดวงไอทีกำลังให้ความสนใจกับ metaverse เป็นอย่างสูง และเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2564 สำนักงานราชบัณฑิตยสภาได้ประกาศลงหน้าเพจเฟซบุ๊กว่ามีการบัญญัติศัพท์ที่ใช้แทน metaverse เป็นภาษาไทยว่า ‘จักรวาลนฤมิต’ ซึ่งก็ตอกย้ำว่า metaverse จะมีอิทธิพลทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยในภายภาคหน้า อย่างไรก็ตาม วิดีโอนำเสนอของ Meta นั้นก็ไม่ได้อธิบายถึงความหมายที่แท้จริงของ metaverse แต่อย่างใด หรือสำนักงานราชบัณฑิตยสภาก็ประกาศเพียงศัพท์บัญญัติ ไม่ได้ให้ความหมายของจักรวาลนฤมิตเพิ่มเติม จึงเกิดข้อสงสัยว่า แล้ว metaverse ที่ถูกพูดถึงนี้คืออะไร ทำงานยังไง และส่งผลต่อวิถีชีวิตเราในอนาคตขนาดไหน NIPA Cloud จึงชวนมาหาคำตอบไปด้วยกัน…
คุณเคยเจอปัญหาเว็บไซต์โหลดช้าหรือไม่? แล้วทำไมมันจึงเกิดขึ้นได้? หากธุรกิจของคุณอยู่ภายในประเทศไทย โดยมี Server ที่เก็บข้อมูลเพียงแห่งเดียวซึ่งตั้งอยู่ที่ภาคเหนือ เมื่อผู้ใช้งานอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง ผู้ใช้งานก็จะสามารถโหลดข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว แต่ถ้าผู้ใช้งานนั้นอยู่ที่ภาคใต้ ก็อาจจะโหลดข้อมูลได้ช้าลง และถ้าผู้ใช้งานยิ่งอยู่ห่างออกไปจากฐานข้อมูลดังกล่าว เช่น มาจากต่างประเทศ ผู้ใช้งานก็จะประสบกับปัญหาในการใช้งานเว็บไซต์ได้ เช่น เว็บไซต์ช้า เว็บไซต์ไม่โหลด หรือเข้าเว็บไซต์ไม่ได้ เป็นต้น ปัญหาดังกล่าว เกิดจากระยะทางของข้อมูลที่ใช้ในการเดินทางไปหาผู้ใช้งานนั้นมีระยะมากเกินไป หรือก็คือผู้ใช้งานอยู่ไกลจาก Server ของธุรกิจมากเกินไปนั่นเอง โดยเมื่อมีการเรียกใช้งานข้อมูลเข้ามา ข้อมูลก็จะถูกดึงมาจากต้นทาง (สถานที่ตั้งของ Server ที่เก็บข้อมูล) และถูกส่งไปยังปลายทาง (ที่อยู่ของผู้ใช้งาน) ผ่านอินเทอร์เน็ต ส่งผลให้ยิ่งผู้ใช้งานอยู่ห่างจาก Server มากเท่าไหร่ เว็บไซต์ก็จะยิ่งโหลดช้าลงเท่านั้น Content Delivery Network คืออะไร? Content Delivery Network หรือ CDN คือ ระบบเครือข่ายของ Data Center ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ซึ่งภายใน Data Center แต่ละแห่งจะมีเครื่อง Server…
ในปัจจุบันเว็บไซต์กลายเป็นหนึ่งในสินทรัพย์ทางด้านไอทีที่มีความสำคัญอย่างมากต่อธุรกิจ ทำให้มักมีผู้ไม่หวังดีพยายามหาช่องโหว่ต่าง ๆ เพื่อเข้ามาโจมตีเว็บไซต์ โดยการโจมตีเว็บไซต์นั้นสามารถพบได้หลากหลายรูปแบบด้วยกัน ซึ่งหนึ่งในรูปแบบที่มักจะพบบ่อยที่สุด คือ Distributed Denial of Service หรือ DDoS Distributed Denial of Service หรือ DDoS คืออะไร ? Distributed Denial of Service หรือ DDoS คือ การโจมตีทางไซเบอร์รูปแบบหนึ่ง โดยมีรูปแบบการโจมตี คือ แฮกเกอร์จะทำการส่ง Traffic หรือคำขอเข้าถึงข้อมูลจากหลากหลายที่ไปยังเว็บไซต์ที่ต้องการโจมตีพร้อม ๆ กัน ทำให้เว็บไซต์นั้นมีปริมาณ Traffic มากเกินกว่าที่ Server จะสามารถรองรับได้ ส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถใช้งานได้ หรือที่นิยมเรียกกันว่าเว็บไซต์ล่มนั่นเอง หลักการโจมตีของ Denial of Service : DoS และ DDoS นั้นเหมือนกัน แต่จะมีความแตกต่างกันตรงที่ DoS คือ…
ระหว่าง Hybrid Cloud vs Multi Cloud เลือกแบบไหนถึงเหมาะ ในโลกปัจจุบัน ภาคธุรกิจเริ่มมีการปรับใช้งานคลาวด์กันอย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเทคโนโลยีคลาวด์จะสามารถเพิ่มความยืดหยุ่นในการขยายตัวของภาคธุรกิจได้แต่ก็ใช่ว่าจะสามารถตอบโจทย์ได้ทุกอย่าง หากผู้ให้บริการคลาวด์ เจ้าใด เจ้าหนึ่งเกิดล่มขึ้นมาก็จะทำให้ระบบของเรานั้นล่มไปด้วย จึงเริ่มเกิดแนวคิดในการปรับใช้ Multi cloud มากขึ้น ปัญหาที่น่ากังวลอีกด้านนึงก็คือ การที่บริษัทตัดสินใจลงทุน Private cloud เป็นของตัวเองแล้ว เกิดความต้องการในการใช้งาน (demand) สูงขึ้นจน private cloud ภายในไม่สามารถรองรับได้ ทำให้ต้องออกไปใช้งาน Public cloud ควบคู่กันด้วย จึงเกิดแนวคิดที่จะปรับใช้ทั้ง private cloud และ public cloud ไปพร้อมกัน หรือที่เราเรียกว่า Hybrid Cloud นั่นเอง Hybrid Cloud คืออะไร? มาทำความรู้จัก Hybrid Cloud หรือการใช้เทคโนโลยีคลาวด์ทั้งแบบ Public และ…
ระบบ Cloud Storage คืออะไร ทำไมหลายองค์กรจึงเริ่มใช้กัน Cloud Storage คือการเก็บข้อมูลบนเครื่อง Server และอยู่ในโลกออนไลน์ที่เราเรียกว่า Cloud ผ่านการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในการเรียกดูและใช้งานข้อมูลบน Cloud ซึ่งอาจจะเก็บข้อมูลไว้ใน server หลาย ๆ ตัว โดยกระจายข้อมูลออกเป็นเครื่องละเล็กละน้อย ผู้ให้บริการคลาวด์ (Host) จะดูแลเป็นคนจัดการบำรุงรักษาฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ทั้งหมดที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถลดต้นทุนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ได้ อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีที่จะตอบรับกับสถานการณ์ยุค Big data ที่มีข้อมูลขนาดใหญ่ นั่นคือ Cloud storage ที่เป็น Software Defined Storage โดยหลักการง่าย ๆ ของ software defined storage คือ การรวมศูนย์ควบคุมให้เป็นจุดเดียวแล้ว Virtualize Storage Layer แบ่งเป็น pools ตามจุดประสงค์การใช้งานที่ต้องการ รูปที่ 1 แสดง Infratructure…
Cloudflare คืออะไร? สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ช่องทางออนไลน์กลายมาเป็นทางเลือกหลักของผู้บริโภค ความรวดเร็วในการใช้งาน และความปลอดภัยของระบบจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ธุรกิจส่วนใหญ่ต้องคำนึงถึง หากท่านกำลังประสบปัญหาต่าง ๆ เช่น เว็บไซต์ล่ม เว็บไซต์ช้า เว็บไซต์ไม่โหลด หรือเว็บไซต์ถูกโจมตี Cloudflare อาจเป็นทางออกที่น่าสนใจที่จะช่วยในการแก้ไขปัญหาเหล่านั้น Cloudflare คือ Global Network ที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้ทุกสิ่งของคุณที่เชื่อมอยู่บนอินเทอร์เน็ต มีความปลอดภัย (Security) มีประสิทธิภาพ (Performance) และพร้อมใช้งาน (Availability) ซึ่ง Cloudflare จะทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้เข้าใช้งานและ Server ที่เก็บข้อมูล โดยผู้เข้าใช้งานจะมาทั้งในรูปแบบของ Visitor, Crawlers & Bots และ Attackers แต่เมื่อใช้งาน Cloudflare การเข้าถึงทุกรูปแบบจะต้องผ่านระบบของ Cloudflare แทน โดย Cloudflare จะเข้ามาช่วยใน 3 เรื่องหลัก ๆ คือ…
ในปัจจุบันเว็บไซต์เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากในการประกอบธุรกิจ เนื่องจากเว็บไซต์จะเข้ามาช่วยเพิ่มศักยภาพทางด้านการสื่อสาร โดยเว็บไซต์จะช่วยให้การเผยแพร่ข้อมูลต่าง ๆ รวมถึงการสร้างการรับรู้ระหว่างธุรกิจกับผู้บริโภคสามารถทำได้ง่าย และครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงข้อมูลของธุรกิจได้จากทุกที่ทุกเวลา เพียงแค่เข้าไปยังเว็บไซต์ของธุรกิจนั้น ๆ นอกจากนี้เว็บไซต์ยังเป็นอีกหนึ่งช่องทางหนึ่งที่น่าสนใจในการเสนอขายสินค้าและบริการของธุรกิจ เนื่องจากผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อสินค้าและบริการผ่านทางเว็บไซต์ได้ด้วยตนเอง ตรงนี้จะช่วยให้ธุรกิจสามารถประหยัดต้นทุนในการจ้างพนักงาน และสามารถจัดสรรต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จากการที่เว็บไซต์เป็นหนึ่งในสินทรัพย์ทางด้านไอทีที่มีความสำคัญของธุรกิจ ทำให้มักมีผู้ที่ไม่หวังดีพยายามหาช่องทางต่าง ๆ เพื่อเข้ามาโจมตีเว็บไซต์ ซึ่งการโจมตีเหล่านั้นมีหลากหลายจุดประสงค์ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการโจมตีเพื่อเพียงต้องการทำให้เว็บไซต์ล่มหรือไม่สามารถใช้งานได้ การโจมตีเพื่อต้องการเข้าไปก่อกวนเปลี่ยนรูปภาพต่าง ๆ บนเว็บไซต์ หรือแม้กระทั่งการโจมตีเพื่อต้องการเจาะเข้าถึงข้อมูลสำคัญของบริษัทที่ถูกเก็บไว้ภายในฐานข้อมูล จากเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้หลายธุรกิจต้องให้ความสำคัญในการเพิ่มความปลอดภัยของเว็บไซต์มากยิ่งขึ้น ซึ่งเครื่องมือที่ธุรกิจนิยมนำมาใช้ คือ Web Application Firewall หรือ WAF นั่นเอง Web Application Firewall (WAF) คืออะไร? Web…
Global Cloud vs Local Cloud เปรียบเทียบ Cloud Computing ที่คนไทยนิยมใช้ในปี 2021 Cloud Computing กลายเป็นเครื่องมือสำหรับการทำงานในช่วง Work from home ที่แพร่หลายอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ผ่านมา เนื่องจากหลายองค์กรต้องทำงานจากที่บ้านเป็นส่วนใหญ่ ซึ่ง Cloud Computing สามารถตอบโจทย์การทำงานได้จากทุกที่ ทุกเวลา แต่การใช้งาน Cloud Computing ก็มีด้วยกันหลากหลายรูปแบบ หลายฟีเจอร์ และมีหลายผู้ให้บริการ ดังนั้นองค์กรจึงควรทำความรู้จักกับแต่ละแบรนด์ก่อนเริ่มต้นใช้งานคลาวด์อย่างถี่ถ้วน โดยผู้ให้บริการ Cloud Comptuing จะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะใหญ่ ๆ ดังนี้ 1. Global Cloud เป็นผู้ให้บริการ Cloud Computing ที่มีผู้ใช้งานทั่วโลก จึงมีระบบที่มีขนาดใหญ่ และฟีเจอร์ที่หลากหลาย แต่ส่วนใหญ่มักมี Data Center ที่ต่างประเทศ ทำให้ผู้ใช้ในประเทศไทยมีอุปสรรคด้านการใช้บริการ การติดต่อ…
Edge cloud computing คืออะไร หลายคนอาจจะสงสัยว่า Edge computing นั้นมีความแตกต่างกับ Cloud Computing อย่างไร? ในความเป็นจริงแล้ว Edge computing ก็คือ Cloud computing รูปแบบหนึ่ง แต่ การถือกำเนิดขึ้นของ edge computing ทำให้เรามี choice มากขึ้น และมี computing power ที่ใกล้กับเรามากขึ้น Edge computing แท้จริงก็คือ cloud computing โดยองค์ประกอบหลักของ Cloud computing ประกอบไปด้วยส่วนที่เป็น compute, storage และ network ทั้ง 3 ส่วนรวมอยู่ด้วยกัน ซึ่งจะต้องมี controller เป็นตัวควบคุมทั้งหมด แต่ edge computing เราทำการตัดเครื่องที่เป็น controller…
ทำความเข้าใจ Dedicated Server คืออะไร? Dedicated Server คือ บริการเช่า Server คุณภาพสูงทั้งเครื่อง ที่ตั้งอยู่ใน IDC (Internet Data Center) เป็นบริการสำหรับผู้ใช้งานที่ไม่ต้องการลงทุนซื้อเครื่อง Server เอง หรือไม่ต้องการใช้งานเครื่อง Server ร่วมกับผู้อื่น เนื่องจากอาจมีข้อมูลที่เป็นความลับขององค์กรอยู่ ซึ่ง Dedicated Server จะเข้ามาช่วยเพิ่มความเสถียร ความเร็ว และความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้งานที่มีฐานข้อมูลขนาดใหญ่ และต้องการความเป็นส่วนตัวสูง โดยผู้ใช้งานสามารถบริหารการจัดการ Dedicated Server ทั้งหมดเองได้ด้วยวิธี Remote Access (Telnet, Terminal, Remote Desktop) ซึ่งเป็นวิธีที่ทำให้ผู้ใช้ได้สัมผัสกับการใช้งาน Server เสมือนอยู่หน้าเครื่องโดยตรง ทำไมต้องใช้บริการเช่า Dedicated Server? การบริหารจัดการข้อมูล (Data Management) ถือเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญที่จะผลักดันให้องค์กรของท่านสามารถก้าวไปสู่ความสำเร็จอีกขั้นได้ แต่ทว่าการลงทุนเพื่อให้ได้ Server ที่มีประสิทธิภาพการทำงานสูงและคุ้มค่ากับการลงทุนนั้น จำเป็นต้องมีความรู้และความเชี่ยวชาญทางด้านนี้โดยเฉพาะ หากองค์กรของท่านไม่มีบุคลากรเฉพาะทาง…
จับตา 7 เทรนด์เทคโนโลยี Artificial Intelligence (AI) มาแรงในปี 2022 ในปี 2021 นี้เราได้เห็นถึงความก้าวหน้าของ AI (Artificial Intelligence) หรือปัญญาประดิษฐ์เพิ่มมากขึ้น ซึ่งอยู่ในหลาย ๆ แพลตฟอร์ม Social Media อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เช่น สมาร์ทโฟน เครื่องปรับอากาศ หรือตู้เย็น ในปีถัดไป 2022 เราอาจจะได้เห็นความเปลี่ยนแปลงมากกว่าเดิม โดยที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน Sundar Pichai CEO ของ Google กล่าวว่า “ผลกระทบของ AI มันจะยิ่งใหญ่กว่าการค้นพบไฟหรือไฟฟ้า โดยจะช่วยให้เราสามารถจัดการกับความเปลี่ยนแปลงระดับธรรมชาติ สภาพภูมิอากาศ อวกาศ และอายุขัย เช่น การรักษาโรคมะเร็ง ซึ่งศักยภาพเหล่านี้มีอยู่อย่างชัดเจน” ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) คือ ระบบ…
Cloud Migration กลยุทธ์ปรับโครงสร้าง IT ที่ผู้ประกอบการต้องรู้! Cloud Computing เป็นระบบที่เปลี่ยนโฉมของวงการไอที ด้วยการให้บริการโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถติดตั้งแอปพลิเคชันและข้อมูลไว้บน Cloud ทำให้สามารถลดต้นทุนและเพิ่มความคล่องตัวในการทำงานได้มากขึ้น ระบบ Legacy IT ที่มีการใช้ฮาร์ดแวร์อย่างสิ้นเปลือง การบริหารจัดการที่ยุ่งยาก ยืดหยุ่นน้อย มีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาสูง การย้ายระบบมาสู่ Cloud Computing จะช่วยลดปัญหาต่าง ๆ ลงได้ และพร้อมรองรับเทคโนโลยีที่หลากหลายในการพัฒนาองค์กรและธุรกิจในอนาคต เช่น Big Data, Machine Learning หรือ AI Cloud Migration คืออะไร? Cloud Migration คือขั้นตอนในการย้ายข้อมูลด้วย Cloud Computing ซึ่งในปัจจุบันองค์กร ย้ายระบบจากศูนย์ข้อมูลที่มีอยู่ (ศูนย์ข้อมูลในพื้นที่) ไปยัง Public Cloud ย้ายระบบจาก Cloud หนึ่งไปยัง Cloud อีกแห่งหนึ่งหรือที่รู้จักกันว่าการโยกย้าย Cloud-to-Cloud ย้ายระบบ Cloud กลับไปสู่ระบบเดิมออกจากระบบ…
Magento คืออะไร? ทำไมจึงควรใช้สร้างเว็บ E-Commerce การซื้อขายบนโลกออนไลน์กลายเป็นเรื่องปกติในยุค New Normal โดยเฉพาะการสั่งซื้อสินค้าผ่านเว็บ E-Commerce ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกซื้อ ชำระเงิน เช็กสินค้า หรือรีวิวได้ในเว็บเดียว รวมถึงหลาย ๆ เว็บอาจจะกลายเป็น Community สำหรับการพูดคุยได้อีกด้วย กุญแจสำคัญก็คือ Software Development อย่าง Magento Magento คืออะไร? Magento เป็นแพลตฟอร์มจัดการข้อมูลบนเว็บไซต์แบบ Content Management System (CMS) ในการพัฒนาเว็บไซต์ E-Commerce ที่มีฟังก์ชันการใช้งานที่ครบถ้วน โดยใช้ภาษา PHP ทำให้ผู้ใช้งานสามารถพัฒนาเว็บไซต์ได้ตั้งแต่ จัดหมวดหมู่สินค้า, อัปเดตจำนวนสินค้าในคลัง, ระบบชำระเงิน, การจัดส่ง, ระบบโปรโมชัน แต่ Magento ไม่ใช่โปรแกรมสำเร็จรูป ผู้ใช้จึงต้องเขียน Code ขึ้นมาเอง ซึ่งจะมีความยืดหยุ่นในการออกแบบ และมีฟังก์ชันอำนวยความสะดวกสำหรับการสร้างเว็บไซต์ได้มากกว่าอีกด้วย Magento ทำอะไรได้บ้าง? ข้อได้เปรียบของ Magento คือ…
คนทำเว็บต้องรู้! LAMP กับ LEMP คืออะไร ต่างกันอย่างไร? เว็บไซต์เป็นสิ่งที่เราคุ้นเคยกันดี แต่เว็บไซต์ก็มีด้วยกันหลากหลายรูปแบบ เช่น เว็บไซต์ข่าว เว็บบล็อก เว็บ E-Commerce หรือเว็บสำหรับธุรกิจ ซึ่งแน่นอนว่าความแตกต่างกันส่วนใหญ่อยู่ที่การออกแบบ แต่จริง ๆ แล้วการทำงานและการพัฒนาเว็บก็ส่งผลต่อการแสดงผลหน้าบ้านเช่นเดียวกัน วันนี้ NIPA Cloud เลยอยากแนะนำ Software สำหรับการทำ Develop Environment อย่าง ‘LAMP’ กับ ‘LEMP’ ซึ่งใช้ในการทำเว็บให้ไม่กระทบกับ Environment ของเครื่องที่ใช้อยู่ รู้จัก LAMP กันแล้วหรือยัง? LAMP คือ การนำ Open Source Software ทั้ง 4 ตัว ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการจัดการทรัพยากรของ Web Server และยังเป็น Software ที่จำเป็นสำหรับการจัดทำ Web page ประกอบไปด้วย L…
Database คือ กลุ่มข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีความสัมพันธ์กัน ถูกจัดเก็บอย่างเป็นระบบ โดยมีซอฟต์แวร์เข้ามาควบคุมการทำงาน ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อ้างอิงจาก Whole cloud forecast ของ International data corporation (IDC) มีการคาดการณ์ว่าค่าใช้จ่ายในการใช้บริการคลาวด์จะทะลุ 1 ล้านล้านดอลลาร์ในปี ค.ศ.2024 เนื่องจากองค์กรต่าง ๆ มีการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานโดยใช้บริการคลาวด์มากขึ้น อย่างไรก็ตาม มีผู้ประกอบการหลายคนเข้าใจผิดว่าคลาวด์เป็นแค่ที่เก็บข้อมูล และเป็นการใช้งานแบบครั้งเดียวจบ ด้วยความคิดแบบนี้ทำให้ความน่าสนใจในการย้ายข้อมูลขึ้นคลาวด์หมดไปอย่างรวดเร็ว และทำให้หลายองค์กรต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดการข้อมูลและเวลาในการทำงานที่มากเกินความจำเป็น จากงานวิจัยล่าสุดของ Accenture พบว่า คนที่มองว่าการย้ายขึ้นคลาวด์เป็นแค่การลดต้นทุนเพียงแค่ครั้งเดียว กำลังสูญเสียข้อได้เปรียบทางธุรกิจอย่างมาก เนื่องจากระบบคลาวด์นั้นเป็นมากกว่าโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถปรับขนาดได้ และเป็นการรวมทุกอย่างที่มีความจำเป็นต่อการทำธุรกิจไม่ว่าจะเป็น ข้อมูล คน คู่ค้า กระบวนการและเทคโนโลยีเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ การบริการ และประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้กับลูกค้า นอกจากนี้ความยืดหยุ่นของระบบคลาวด์ทำให้ธุรกิจสามารถลองผิดลองถูกในต้นทุนที่ถูกลงได้ ไม่ว่าธุรกิจจะอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการโยกย้ายขึ้นระบบคลาวด์หรืออยู่ในช่วงที่ทำมาได้สักพักแล้ว การเปลี่ยนกรอบความคิดเพื่อใช้ระบบคลาวด์เป็นสิ่งสำคัญ ก่อนจะย้ายข้อมูลขึ้นคลาวด์ นี่คือหลักการ 4 ข้อที่คุณควรคำนึงถึง 4 ข้อหลักที่คุณต้องคิดก่อนย้ายข้อมูลขึ้นคลาวด์ รู้ก่อนว่าต้องการใช้คลาวด์เพื่อทำอะไรในองค์กรของคุณ : วิกฤตโควิด 19 ทำให้ผู้นำทางด้านเทคโนโลยีดูมีส่วนเกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน กลยุทธ์ทางเทคโนโลยีและกลยุทธ์ทางธุรกิจแทบจะแยกออกจากกันไม่ได้ ดังนั้นการพัฒนากลยุทธ์การใช้คลาวด์ด้วยวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนก่อนจึงเป็นสิ่งสำคัญเทียบเท่ากับการวางกลยุทธ์ทางธุรกิจ คลาวด์ต้องสนับสนุนและเพิ่มพูนเทคโนโลยีของคุณ : นวัตกรรมใหม่ไม่ควรอยู่อยู่บนบ่าของทีม…
Cloud Computing คือ โมเดลหรือโครงสร้างในการให้บริการทรัพยากรทางด้านเทคโนโลยีเพื่อการคำนวณทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงได้ผ่านอินเทอร์เน็ต
Ransomware Ransomware เป็น Malware ชนิดหนึงซึ่งจะทำการเข้ารหัสหรือล็อกไฟล์ ซึ่งการถูกเข้ารหัสก็หมายความว่าจะต้องใช้คีย์ในการปลดล็อคเพื่อกู้ข้อมูลคืนมา ผู้ใช้งานจะต้องทำการจ่ายเงินตามข้อความ “เรียกค่าไถ่” ที่ปรากฏ แต่อย่างไรก็ตาม การชำระเงินก็ไม่ได้หมายความว่าผู้ไม่หวังดีจะส่งคีย์ที่ใช้ในการปลดล็อคไฟล์ให้กับผู้ใช้งาน ตัวอย่างที่เคยพบ เครื่อง Database ของคุณลูกค้าถูกเข้ารหัสข้อมูล Database ซึ่งเป็นเครื่องที่ต่อกับ Public IP จึงต้องทำการนำ Backup มา restore วิธีป้องกัน Ransomware ทำการสำรองข้อมูล (Backup) เป็นประจำ อัปเดต OS ในเครื่องอย่างสม่ำเสมอ ตั้งรหัสเข้าเครื่องที่มีความยากในการคาดเดา เครื่องที่มีข้อมูลสำคัญเช่น Database ไม่ควรต่อ Public IP ไฟล์หรือ Folder ที่สำคัญ ให้กำหนดสิทธิ์การเข้าถึงจากบุคคลภายนอกให้เพียง Read only เท่านั้น วิธีการป้องกัน ใช้ Autobackup ของ nipa.cloud หรือ ทำการ Backup สม่ำเสมอ เพื่อลดความเสี่ยงหรือข้อมูลเสียหาย หากมีขอสงสัยหรือสอบถามบริการติดต่อ…
Brute Force Attack การเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์เป็นเป้าหมายหลักของผู้โจมตีระบบ ซึ่งการ login เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ก็เป็นวิธีการหนึ่งของผู้โจมตีระบบที่จะสามารถเข้าสู่เครื่องเป้าหมายได้ โดยวิธี Brute Force Attack เป็นการโจมตีระบบคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่ง ที่ใช้การเดารหัสผ่านทุกความเป็นไปได้ของตัวอักษรในแต่ละหลัก ยกตัวอย่างเช่น รหัส ATM ที่เราใช้งานอยู่ โดยทั่วไปจะมีอยู่ 4 หลัก จึงมีความเป็นไปได้ทั้งหมด 10,000 วิธี โดยผู้โจมตีจะเริ่มใส่รหัสตั้งแต่ 0000 ถึง 9999 ทำให้จะได้รหัสที่ถูกต้องในที่สุด ดังนั้นการโจมตีแบบ Brute Force Attack จึงเป็นวิธีที่จะสามารถหารหัสผ่านที่ถูกต้องได้อย่างแน่นอน เพียงแต่ต้องใช้ระยะเวลาในการเดารหัสผ่าน ซึ่งจะใช้เวลามากหรือน้อยนั้นจะขึ้นอยู่กับความซับซ้อนและจำนวนตัวอักษรของรหัสผ่าน วิธีตรวจสอบเบื้องต้น เราสามารถตรวจสอบได้ว่าเครื่อง server ของเรามีการโจมตีเข้ามาแบบ Brute Force Attack หรือไม่ โดยเข้าไปตรวจสอบ log ไฟล์ว่ามี user และ IP Address ที่เราไม่รู้จักพยายามที่จะ login เข้ามาในระบบหรือไม่ เช่น ระบบปฏิบัติการ…
DDoS Attack การโจมตีแบบ DDoS คือลักษณะหรือวิธีการหนึ่งของการโจมตีระบบบนอินเทอร์เน็ต เพื่อทำให้ระบบเป้าหมายปฏิเสธหรือหยุดการให้บริการ (Denial-of-Service) การโจมตีจะเกิดขึ้นพร้อมๆกันและมีเป้าหมายเดียวกัน โดยเครื่องที่ตกเป็นเหยื่อทั้งหมด จะสร้างข้อมูลขยะขึ้นมาแล้วส่งไปที่ระบบเป้าหมายกระแสข้อมูลที่ไหลเข้ามาในปริมาณมหาศาลทำให้ระบบเป้าหมายต้องทำงานหนักขึ้นและช้าลงเรื่อยๆ เมื่อเกินกว่าระดับที่รับได้ก็จะหยุดการทำงานลงในที่สุดอันเป็นเหตุให้ผู้ใช้ไม่สามารถใช้บริการระบบเป้าหมายได้ตามปกติ และ แฮกเกอร์ยังสามารถฝั่ง source code ไว้ใน App ของ ลูกค้าได้ เช่น .php เป็นต้นทำให้แฮกเกอร์สามารถสั่งคำสั่งการโจมตีการแฮกเกอร์ได้ ทำให้เครื่องลูกค้าเป็นหนึ่งในการเป็นเหยื่อจากแฮกเกอร์ได้ วิธีการตรวจสอบ แนะนำให้ติดตั้ง monitoring tools เช่น netdata zabbix datadog เป็นต้น เพื่อตรวจสอบความผิดปกติของการทำงานของ OS เช่น CPU, RAM, Network ทำงานสูงผิดปกติ หรือ เกินการใช้งานจริง วิธีการแก้ไขเบื้องต้น ตรวจสอบการทำงานของ Process ใน OS เช่น การใช้คำสั่ง top, htop เพื่อเช็ค Process หากมีการทำงานสูงผิดปกติเป็นบางช่วงเวลา หากเจอแล้วสามารถ kill…
เปรียบเทียบ Public Cloud คืออะไร และ Private Cloud คืออะไร ต่างกันอย่างไร? การทำงานในระดับ IT เป็นเทคโนโลยีที่ทุกองค์กรใช้งานกันเป็นพื้นฐานทั่วไป เช่น คอมพิวเตอร์, ไดร์ฟการเก็บข้อมูล หรือ Cloud ในการทำงานระบบแอปพลิเคชันต่างๆ แต่ด้วยความเป็นพื้นฐานของเทคโนโลยีเหล่านี้ มีความสำคัญอย่างมากในการทำงานปัจจุบัน โดยเฉพาะ Infrastructure ที่ส่งผลต่อการทำงานโดยตรง ซึ่งอาจทำให้หลายๆคนอาจจะสงสัยว่า Public Cloud คืออะไร และ Private Cloud คืออะไร? เทคโนโลยีอย่าง Public Cloud และ Private Cloud ที่พูดถึงเป็นอย่างมาก ก็กลายมาเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมและองค์กรหลายๆ รูปแบบ เช่น เว็บไซต์, แอปพลิเคชัน, อุปกรณ์ IoT, โปรแกรม, ซอฟต์แวร์, ระบบ ERP, AI, Big Data หรือการเก็บข้อมูลของอุตสาหกรรมใหญ่ๆ Cloud Computing ก็เป็นเทคโนโลยีที่สำคัญต่อองค์กรเป็นอย่างมาก หลายๆ คนอาจจะยังไม่เห็นภาพการทำงานของ Cloud Computing มากเท่าไหร่นัก โดยจะยกตัวอย่างง่ายของคลาวด์ เช่น การเก็บไฟล์ภาพในโทรศัพท์ Smartphone, การเก็บข้อมูลแอปพลิเคชันบนคลาวด์ หรือ การฝากไฟล์งานต่างๆ ที่ผู้คนใช้กันทั่วไป ก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบ Cloud Computing เพียงแต่ในเชิงของเทคโนโลยีแล้ว การใช้งาน Cloud มีรายละเอียดมากกว่าในมุมมองของผู้ใช้งาน โดยเราจะไปทำความเข้าใจกันว่า Cloud Computing มีรายละเอียดที่เข้าใจง่ายๆ ว่าอย่างไรบ้าง Cloud Computing คืออะไร? Cloud Computing คือ เทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานด้าน IT ที่สามารถประมวลผลและจัดเก็บข้อมูลได้ผ่านออนไลน์ เปรียบเสมือนคอมพิวเตอร์เครื่องขนาดใหญ่ที่มีทั้งระบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ทำให้สามารถประมวลผลข้อมูลมหาศาลได้อย่างรวดเร็ว โดยที่ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงการจัดการด้านฮาร์ดแวร์ เช่น การบำรุงรักษา, การเสื่อมสภาพ, การอัปเดตซอฟต์แวร์ หรือ…
Cloud Computing เป็นประโยชน์กับองค์กรอย่างไร? ในช่วงโควิด-19 หรือ ยุคที่เกิด ‘New Normal’ แบบนี้ หลายๆ องค์กรก็ต้องมีการหาโซลูชันการทำงานที่คล่องตัว สามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้และการควบคุมการทำงานที่ง่ายดาย ‘Cloud Computing’ กลายเป็นคำตอบของเทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหาการทำงานแบบเดิมๆ และปรับให้การทำงานคล่องตัว สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ ทุกเวลา และมีทรัพยากรด้าน IT ที่ยืดหยุ่น พูดให้เข้าใจง่ายๆ สำหรับ ‘Cloud Computing’ ก็คือคอมพิวเตอร์ หรือ เซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่ที่ผู้ใช้งานไม่ต้องสนใจว่า เซิร์ฟเวอร์จะตั้งอยู่ที่ไหน เพราะ สามารถใช้งานได้ทุกที่ ทุกเวลา เพียงเชื่อมต่อผ่านอินเทอร์เน็ต คุณลักษณะที่ดีของ ‘Cloud Computing’ ก็คือ – สามารถควบคุมต้นทุนได้ (Manage Your Finance) – สามารถเข้าถึงได้จากทุกที่ ทุกเวลา และหลากหลายอุปกรณ์ (Go Mobile) – มีมาตรฐานด้านความปลอดภัยที่ควบคุมข้อมูลต่างๆ (Store It Up) – คนในองค์กรสามารถทำงานร่วมกันได้โดยไร้ข้อจำกัด รวมถึงยังเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงลูกค้าได้อย่างง่ายดายมากขึ้น (Share Information — Collaboration) – ระบบการทำงาน Information System…
Cloud networking กับ Cloud computing แตกต่างกันอย่างไร? การใช้งานคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud computing) เริ่มแพร่หลายมากขึ้นในปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง เพราะองค์กรต่างๆ สามารถใช้งานแอปพลิเคชัน หรือ ซอฟต์แวร์ ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพบนคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud computing) ซึ่งเป็นที่ยอมรับเรื่องการใช้งานที่มากขึ้น แต่หลายๆ มักตั้งคำถามเกี่ยวกับระบบเครือข่ายคลาวด์ (Cloud networking) ว่ามีความแตกต่างกับ ระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud computing) อย่างไร? ในวันนี้เราจะมาหาคำตอบกัน เมื่อเปรียบเทียบระหว่าง ระบบเครือข่ายคลาวด์ (Cloud networking) กับ ระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud computing) นั้นมีความคล้ายคลึงกันมาก แต่มีความแตกต่างกันหลักๆ คือ ระบบเครือข่ายคลาวด์ (Cloud networking) จะเป็นเรื่องของการเข้าถึงเครือข่ายคลาวด์ ส่วน ระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud computing) จะเกี่ยวข้องกับการทำงานของแอปพลิเคชันนั่นเอง ระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud computing) ระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud computing) คือ การย้ายแอปพลิเคชัน หรือ กระบวนการทำงานภายในองค์กรของคุณจาก Data Center ไปยังผู้ให้บริการคลาวด์ (Cloud Provider) โดยที่ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องดูแลฮาร์แวร์ (Hardware) หรืออุปกรณ์ต่างๆ ด้วยตนเอง เนื่องจากมีทีมงาน NOC และทีมงานผู้เชี่ยวชาญคอยดูแล Hardware ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย และเวลาในการทำงาน เพียงแค่มีการเชื่อมต่อผ่านอินเทอร์เน็ต (Internet)…
Magento แอปฯ พัฒนาเว็บ E-Commerce บน Cloud Thai เว็บไซต์ E-Commerce เป็นช่องทางที่หลายๆ แบรนด์ธุรกิจเลือกใช้งานสำหรับสื่อสารและทำธุรกิจ ซึ่งความสำคัญของเว็บไซต์ก็เปรียบเสมือนการสร้างร้านค้าที่มีความสวยงามและสะดวก แต่อยู่ในรูปแบบของสื่อออนไลน์ ซึ่งก็มีหลายโปรแกรมสำหรับการพัฒนาเว็บไซต์ E-Commerce หนึ่งในแพลตฟอร์มที่มีความสะดวก คือ Magento สำหรับการพัฒนาเว็บไซต์ E-Commerce มักจะมีปัจจัยแวดล้อมหลายๆ รูปแบบ ทำให้การพัฒนาและ Run ระบบส่วนใหญ่ นักพัฒนาจะใช้งาน Cloud Computing ซึ่ง Cloud Thai ในปัจจุบันก็มีประสิทธิภาพ ความเร็ว และมีเสถียรภาพในการ Run ระบบอย่างต่อเนื่อง Magento คืออะไร? Magento เป็นแพลตฟอร์มจัดการข้อมูลบนเว็บไซต์แบบ Content Management System (CMS) ในการพัฒนาเว็บไซต์ E-Commerce ที่มีฟังก์ชันการใช้งานที่ครบถ้วน โดยใช้ภาษา PHP ทำให้ผู้ใช้งานสามารถพัฒนาเว็บไซต์ได้ตั้งแต่ จัดหมวดหมู่สินค้า, อัปเดตจำนวนสินค้าในคลัง,…
Data Science กับการเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นมูลค่าบน Cloud Server Data Science คืออะไร? ‘Data Science’ หรือ ‘วิทยาศาสตร์ข้อมูล’ คือ วิธีการที่ใช้รวบรวมข้อมูลเชิงลึกจากทั้ง ข้อมูลที่มีโครงสร้าง และข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง ที่มีอยู่ภายในฐานข้อมูลขององค์กร โดยนำข้อมูลมาวิเคราะห์สถิติ ไปจนถึงกระบวนการ Machine Learning บน Cloud Server ซึ่งในองค์กรส่วนใหญ่แล้ว ‘Data Scientist’ หรือ ‘นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล’ นั้น ทำงานเพื่อเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นมูลค่า เพื่อเพิ่มรายได้ พร้อมๆ กับลดต้นทุน เพิ่มความไหลลื่นทางธุรกิจ และช่วยปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้าผ่านการทำงานบน Cloud Server นั่นเอง Data Scientist ทำงานอย่างไร? หลายๆ องค์กรที่ให้ความสนใจกับเทคโนโลยี ‘Big Data’ แน่นอนว่าต้องมีคนที่เข้ามาควบคุมนั่นคือ ‘นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล’ หรือ ‘Data Scientist’ ซึ่งต้องทำหน้าที่ควบคู่กับการทำงานของอีก…
Cloud Computing หรือระบบการประมวลผลและหน่วยจัดเก็บข้อมูลรูปแบบออนไลน์ที่ช่วยลดความยุ่งยากในการติดตั้ง ดูแลระบบ และลดต้นทุนในการสร้างระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยมีบริการทั้งรูปแบบเครือข่ายส่วนตัว (Private Cloud), เครือข่ายสาธารณะ (Public Cloud) และใช้งานเครือข่ายแบบผสมผสาน (Hybrid Cloud) เข้าใจง่ายๆ Cloud Computing คือการใช้งานระบบคอมพิวเตอร์ หรือซอฟต์แวร์แบบออนไลน์จากผู้ให้บริการที่แตกต่างกัน ซึ่งสามารถใช้งานได้อย่างสะดวกผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต รวมถึงสามารถกำหนดทรัพยากรของคอมพิวเตอร์ได้อย่างอิสระตามความต้องการ และลดต้นทุนด้วยระบบคิดค่าบริการตามการใช้งานจริงนั่นเอง ประเภทของ Cloud Computing Public Cloud เป็นระบบคลาวด์ที่ผู้ใช้งานทั่วไปสามารถเข้ามาใช้งานทรัพยากรในการสร้างเครือข่าย หรือระบบคอมพิวเตอร์ โดยสามารถใช้งานได้ทั้ง Hardware และ ซอฟต์แวร์ ซึ่งรูปแบบบริการก็จะมีความแตกต่างกันออกไปของแต่ละผู้ให้บริการคลาวด์ ทั้งนี้จะมีการคิดค่าบริการแบบตามการใช้งานจริงเป็นรายชั่วโมง Private Cloud เป็นระบบคลาวด์แบบปิดที่มีเฉพาะคนในองค์กรสามารถเข้าถึงทรัพยากรได้ โดยที่ระบบข้อมูลและ Software จะการจัดเก็บและป้องกันที่ปลอดภัยบน Data Center ของผู้ให้บริการ ซึ่งองค์กรสามารถใช้งานหรือปรับเปลี่ยนระบบได้อย่างอิสระ Hybrid Cloud เป็นระบบคลาวด์แบบผสมผสานทั้ง Public Cloud และ…
Migrate-to-Cloud ย้ายมาใช้งาน Cloud ดีกว่าอย่างไร ? Cloud Computing ถูกพูดถึงอย่างมากในปัจจุบัน ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่สามารถตอบโจทย์ธุรกิจได้หลากหลายรูปแบบ รวมถึงสามารถตอบโจทย์การทำงานผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้เป็นอย่างดี และเหมาะสำหรับอุตสาหกรรมที่มีมีความยืดหยุ่นในการทำงาน โดยหลายๆ ธุรกิจก็ให้ความสนใจกับการทำงานของคลาวด์ แต่ระหว่างคลาวด์ในต่างประเทศ และ Local Cloud ที่มีความแตกต่างกัน น่าสนใจอย่างไร ? และดีกว่าอย่างไร ? Gartner บริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีชั้นนำของโลก คาดว่าองค์กรต่างๆ จะย้ายแอปพลิเคชันจากใน On-premise ไปยัง Public Cloud มากขึ้น (Migrate to Cloud) เพื่อใช้งานบริการที่มีผู้ให้คำแนะนำและการช่วยเหลือเรื่องพัฒนาซอฟต์แวร์ในกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น นักวิเคราะห์จาก Gartner ระบุว่าธุรกิจต่างๆ กว่า 1 ใน 5 จะมีการจัดการโดยนำระบบโครงสร้างพื้นฐานของคลาวด์ (Infrastructure-as-a-Service หรือ IaaS) มาใช้ในการทำงานของอุตสาหกรรมและธุรกิจมากขึ้น โดยคาดว่า ภายในปี 2022 จะมีการลงทุนกับบริการทางด้าน Public…
จากสถานการณ์แพร่ระบาดของ ของไวรัส COVID-19 บริษัทได้จัดระบบการทำงานที่บ้าน (Work from home) ให้มีประสิทธิที่สุด เพื่อให้พนักงานสามารถส่งมอบงานที่มีคุณภาพเช่นเดิม ด้วยวิธีการดังนี้
Nipa.Cloud ปรับราคาและสเปคใหม่ เริ่ม 1 มีนาคม 2020 นี้
Cloud Technology คืออะไร ? หลายๆ ท่านอาจจะยังไม่คุ้นชินกับคำศัพท์นี้ หรือรู้สึกว่าเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ยังไม่ใช้กันแพร่หลายเท่าไหร่ แต่โดยแท้จริงแล้ว เรามีการใช้สิ่งเหล่านี้อยู่ในชีวิตประจำวัน โดยที่เราไม่รู้ตัวเท่านั้นเอง ตัวอย่างเช่น iCloud, Dropbox, Google Drive หรือแม้กระทั่ง E-mail ก็คือ Cloud ในรูปแบบหนึ่งเช่นเดียวกัน โดย Cloud ที่ผู้คนใช้กันทั่วไปเป็นเพียงรูปแบบซอฟต์แวร์ของ Cloud Technology หรือที่เรียกกันว่า Software-as-a-Services (SaaS) แต่ Cloud เอง ก็ยังมีแบ่งออกเป็นประเภทอื่นๆอีกเช่นกัน เช่น Infrastructure-as-a-Service (IaaS) และ Platform-as-a-Service (PaaS)
ไขข้อสงสัย!?!? Cloud Disaster Recovery (DR) Services vs DR แบบดั้งเดิม ระบบไหนดีกว่ากัน!!
Node.js คือการเขียนโปรแกรมด้วย JavaScript ฝั่งเซิฟเวอร์ มีการรันด้วย Chrom’s V8 JavaScript engine โดย Node.js ใช้ event-driven, non-blocking I/O model ซึ่งจะทำให้เครื่องเบา และมีประสิทธิภาพสูง เป็น Environment หรือสภาพแวดล้อมที่ช่วยให้เราทำงานได้ง่าย และเร็วขึ้น พร้อมตัวช่วยต่างๆ ที่เหมาะสม
ในยุคที่บทบาทของเทคโนโลยีเริ่มมีมากขึ้น ธุรกิจส่วนใหญ่ก็พบเจอกับความเปลี่ยนแปลงแบบดิจิทัล หรือ “Digital Transformation” แต่ในหลาย ๆ ครั้ง มักจะเป็นที่สงสัยว่าคำนี้หมายถึงอะไร? และ ธุรกิจ SMEs ควรปรับตัวอย่างไรในยุคดิจิทัล
ฟีเจอร์ใหม่บน Nipa Cloud Platform ที่เพิ่มขึ้นมาในครั้งนี้ เพิ่มขีดความสามารถในการทำงานแบบ Multi-Project
การให้บริการ Cloud Service เป็นสิ่งที่เราหลายคนได้ยินมากขึ้น เนื่องจากเรามาถึงยุคของ Digital Transformation เหล่าองค์กรทั้งหลายมีการปรับตัว เพื่อจะได้คงความเป็นผู้นำในธุรกิจนั้นๆ ต่อไป และด้วยเหตุนี้ Cloud Service จึงเป็นสิ่งจำเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ธุรกิจบริการ Cloud Service เติบโตมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เรามาลองดูสถิติการคาดการณ์ที่น่าสนใจจาก Gartner, Inc. ผู้นำด้านการวิจัยและให้คำปรึกษาองค์กรระดับโลกกันดีกว่าบริการ Cloud นั้น จะสามารถเติบโตได้ขนาดไหน จากการคาดการณ์ของ Gartner มีข้อมูลว่า อุตสาหกรรมบริการของ Cloud จะเติบโตแบบก้าวกระโดดไปจนถึงปี 2022 โดยที่ตลาดของการให้บริการ Public Cloud จากทั่วโลก คาดว่าจะโตขึ้น 17.5% จากเดิม $182.4 พันล้าน ในปี 2018 เป็น $214.3 พันล้านในปี 2019 เลยทีเดียว ส่วนแบ่งการตลาดที่สามารถเติบโตได้เร็วที่สุดของอุตสาหกรรม Cloud จะตกเป็นของ Infrastructure-as-a-Service (IaaS) ซึ่งในปี 2018…
การให้บริการ Cloud Service เป็นสิ่งที่เราหลายคนได้ยินมากขึ้น เนื่องจากเรามาถึงยุคของ Digital Transformation เหล่าองค์กรทั้งหลายมีการปรับตัว เพื่อจะได้คงความเป็นผู้นำในธุรกิจนั้นๆ ต่อไป และด้วยเหตุนี้ Cloud Service จึงเป็นสิ่งจำเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ธุรกิจบริการ Cloud Service เติบโตมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เรามาลองดูสถิติการคาดการณ์ที่น่าสนใจจาก Gartner, Inc. ผู้นำด้านการวิจัยและให้คำปรึกษาองค์กรระดับโลกกันดีกว่าบริการ Cloud นั้น จะสามารถเติบโตได้ขนาดไหน จากการคาดการณ์ของ Gartner มีข้อมูลว่า อุตสาหกรรมบริการของ Cloud จะเติบโตแบบก้าวกระโดดไปจนถึงปี 2022 โดยที่ตลาดของการให้บริการ Public Cloud จากทั่วโลก คาดว่าจะโตขึ้น 17.5% จากเดิม $182.4 พันล้าน ในปี 2018 เป็น $214.3 พันล้านในปี 2019 เลยทีเดียว ส่วนแบ่งการตลาดที่สามารถเติบโตได้เร็วที่สุดของอุตสาหกรรม Cloud จะตกเป็นของ Infrastructure-as-a-Service (IaaS) ซึ่งในปี 2018…
ในช่วงที่เทคโนโลยีกำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ทำให้เทคโนโลยีระบบ “Cloud”
ในการจัดเก็บข้อมูลที่มีจำนวนมหาศาล หรือเป็นข้อมูลของทั้งองค์กรนั้น คงจะไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะสามารถจัดการได้โดยเร็ว หากไม่รู้ว่าควรจัดการอย่างไรจึงจะเหมาะสมและไม่เสียเวลา ในวันนี้เราจึงมีตัวช่วยดีๆ ในการจัดการกับฐานข้อมูลให้ได้รวดเร็วขึ้น อย่าง MongoDB ถ้าอยากรู้ว่าทำอะไรได้บ้าง ตามมาดูกันเลยดีกว่า
GitLab เทรนด์ใหม่ในโลก Opensource ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะตอนนี้หลายโครงการดังๆ เปลี่ยนมาใช้บริการของ GitLab กันแล้ว
หลายๆ คนอาจจะเคยได้ยินกันมาบ้างแล้วเกี่ยวกับ Jenkins ซึ่งถือเป็น Open Source Tools รูปแบบหนึ่ง แต่อาจจะยังไม่แน่ใจว่าเราใช้ Jenkins ทำอะไรได้บ้าง เรามีคำตอบ …
LAMP คืออะไร สำหรับคนที่ทำงานด้าน IT ทำงานด้านการพัฒนาแอพลิเคชั่น จะต้องรู้จักกับ LAMP กันอย่างแน่นอน ซึ่งเป็น Software ที่สำคัญสำหรับในการทำ Web page และย่อมาจาก Opensource Software ทั้ง 4 เพื่อจัด Web Server ประกอบไปด้วย
เรียน ลูกค้าทุกท่าน เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2561 เวลาประมาณ 18.20 น. เกิดเหตุกระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้านครหลวงขาดบริเวณศาลแรงงาน ถนนพระราม 4 ส่งผลให้อาคาร กสท. โทรคมนาคม บางรัก ต้องสลับไฟไปใช้ไฟฟ้าจากเครื่องปั่นกระแสไฟ (Generator) ที่ใช้น้ำมันดีเซล ซึ่งเครื่องปั่นไฟสามารถรองรับไฟฟ้าดับได้นานกว่า 10 ชั่วโมงต่อการเติมน้ำมันดีเซลหนึ่งครั้ง บริษัท นิภา เทคโนโลยี จำกัด ขอแจ้งให้ลูกค้าทราบว่า เหตุการณ์ดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้บริการแต่อย่างใด และบริษัทฯมีแผนรองรับกรณีไฟฟ้าดับและ/หรือเครื่องปั่นไฟไม่ทำงาน โดยบริษัทมี Modular UPS สำหรับสำรองไฟฟ้าทั้งดาต้าเซ็นเตอร์ได้นานกว่า 1 ชั่วโมง เพื่อให้มั่นใจว่าเหตุการณ์ดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้บริการของบริษัทฯ จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ Office : +66 2 107 8251 or +66 2 639 7744 ext 444, 417 Mobile (TH) : +66…
การทำให้เครื่องมือที่คนรู้สึกว่ายาก ใช้งานง่ายลงโดยเฉพาะใน area ของ Cloud Native (เช่น Docker, Kubernetes) จะทำให้เกิด impact ในวงกว้าง ผมนั่งคิดเล่น ๆ ว่าจะเกิดอะไรขึ้นถ้าทั้ง 1,000 คนที่มาร่วมงาน DevOps BKK สามารถ provision Kubernetes ได้และใช้ Kubernetes เป็นในระดับ production ได้ วงการ DevOps ในประเทศคงจะก้าวกระโดดไปอีกระดับ