ในปัจจุบันเว็บไซต์เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากในการประกอบธุรกิจ เนื่องจากเว็บไซต์จะเข้ามาช่วยเพิ่มศักยภาพทางด้านการสื่อสาร โดยเว็บไซต์จะช่วยให้การเผยแพร่ข้อมูลต่าง ๆ รวมถึงการสร้างการรับรู้ระหว่างธุรกิจกับผู้บริโภคสามารถทำได้ง่าย และครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงข้อมูลของธุรกิจได้จากทุกที่ทุกเวลา เพียงแค่เข้าไปยังเว็บไซต์ของธุรกิจนั้น ๆ นอกจากนี้เว็บไซต์ยังเป็นอีกหนึ่งช่องทางหนึ่งที่น่าสนใจในการเสนอขายสินค้าและบริการของธุรกิจ เนื่องจากผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อสินค้าและบริการผ่านทางเว็บไซต์ได้ด้วยตนเอง ตรงนี้จะช่วยให้ธุรกิจสามารถประหยัดต้นทุนในการจ้างพนักงาน และสามารถจัดสรรต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
จากการที่เว็บไซต์เป็นหนึ่งในสินทรัพย์ทางด้านไอทีที่มีความสำคัญของธุรกิจ ทำให้มักมีผู้ที่ไม่หวังดีพยายามหาช่องทางต่าง ๆ เพื่อเข้ามาโจมตีเว็บไซต์ ซึ่งการโจมตีเหล่านั้นมีหลากหลายจุดประสงค์ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการโจมตีเพื่อเพียงต้องการทำให้เว็บไซต์ล่มหรือไม่สามารถใช้งานได้ การโจมตีเพื่อต้องการเข้าไปก่อกวนเปลี่ยนรูปภาพต่าง ๆ บนเว็บไซต์ หรือแม้กระทั่งการโจมตีเพื่อต้องการเจาะเข้าถึงข้อมูลสำคัญของบริษัทที่ถูกเก็บไว้ภายในฐานข้อมูล จากเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้หลายธุรกิจต้องให้ความสำคัญในการเพิ่มความปลอดภัยของเว็บไซต์มากยิ่งขึ้น ซึ่งเครื่องมือที่ธุรกิจนิยมนำมาใช้ คือ Web Application Firewall หรือ WAF นั่นเอง
Web Application Firewall (WAF) คืออะไร?
Web Application Firewall (WAF) คือ เครื่องมือในรูปแบบ Security Cloud Service ที่จะเข้ามาช่วยป้องกันเว็บแอปพลิเคชันจากการโจมตีในรูปแบบต่าง ๆ เช่น cross-site forgery, cross-site-scripting (XSS), file inclusion และ SQL injection เป็นต้น โดย WAF จะทำการกรองและตรวจสอบ HTTP Traffic ที่ถูกส่งเข้ามายังเว็บไซต์ เพื่อวิเคราะห์ว่า Traffic นั้นมีความผิดปกติหรือไม่ หากมีความผิดปกติ WAF จะทำการป้องกันเพื่อไม่ให้ Traffic ดังกล่าว สามารถโจมตีเว็บไซต์หรือทำการแฮกข้อมูลในระบบออกไปได้
WAF สามารถใช้ป้องกันการโจมตีได้ในหลากหลายประเภทของเว็บแอปพลิเคชัน ไม่ว่าจะเป็นแอปพลิเคชันที่พัฒนาเอง หรือแอปพลิเคชันที่เป็น Open-Source ก็ตาม โดยการป้องกันการโจมตีดังกล่าว ไม่มีผลทำให้การทำงานของระบบช้าลง นอกจากนี้ WAF ยังมีการพัฒนาและอัปเดตจากผู้ให้บริการอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ WAF สามารถป้องกันการโจมตีรูปแบบใหม่ ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้อีกด้วย
Web Application Firewall (WAF) เหมาะกับเว็บไซต์แบบไหน?
สำหรับเว็บไซต์ที่ควรใช้ WAF คือ เว็บไซต์ที่ต้องมีการรองรับ Traffic ที่สูงอยู่เป็นประจำ หรือเว็บไซต์ที่มีความเสี่ยงที่ Traffic แปลกปลอมจะถูกส่งเข้ามายังระบบ รวมถึงเว็บไซต์ทั่วไปก็ควรมีการใช้งาน WAF เช่นเดียวกัน เพื่อเป็นการเพิ่มความปลอดภัยจากการโจมตีทางไซเบอร์ และเพิ่มความสบายใจให้กับผู้ใช้งาน
ทำความรู้จักกับ Cloudflare Web Application Firewall
Cloudflare Web Application Firewall คือหนึ่งใน WAF ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจาก Cloudflare มีการเปิดให้ผู้ใช้งานได้ทดลองใช้บริการ WAF แบบไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งในส่วนของการทดลองใช้ฟรีนั้น จะมีฟีเจอร์ที่สามารถป้องกันการโจมตีได้ในเบื้องต้น หากผู้ใช้งานต้องการใช้บริการ Cloudflare WAF ในรูปแบบที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัย และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเว็บแอปพลิเคชันอย่างครบครัน ผู้ใช้งานสามารถเลือกใช้บริการแพ็กเกจที่เป็น Cloudflare Enterprise ได้ ซึ่งแพ็กเกจนี้จะช่วยปกป้องเว็บแอปพลิเคชันที่สำคัญของธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความคุ้มค่ามากที่สุด
ในปัจจุบัน NIPA Cloud ได้มีการร่วมมือกับ Cloudflare เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ ทั้งในด้านของความปลอดภัย และความรวดเร็วในการประมวลผลของระบบต่าง ๆ โดย NIPA Cloud ได้เตรียมความพร้อมในการรับมือกับการโจมตีทางไซเบอร์ ทั้งรูปแบบที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และรูปแบบที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยลูกค้าของ NIPA Cloud สามารถเลือกใช้บริการ Cloudflare เป็นบริการเสริมได้ เพื่อให้เว็บแอปพลิเคชันของลูกค้าได้รับความปลอดภัยสูงสุด และมีประสิทธิภาพมากที่สุด
สำหรับผู้ที่สนใจใช้งาน Cloudflare กับ NIPA Cloud สามารถติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
Office : +66 2 107 8251 ext 444, 416, 417
Mobile (TH) : +66 8 6019 4000
Mobile (EN) : +66 8 1841 4949
Email : sales@nipa.cloud