ทำความเข้าใจ Database คืออะไร?
Database (ฐานข้อมูล) คือ กลุ่มข้อมูลขนาดใหญ่ที่ถูกเก็บรวบรวมไว้ที่ใดที่หนึ่ง โดยเป็นข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน ซึ่งถูกจัดเก็บอย่างเป็นระบบ โดยมีซอฟต์แวร์เข้ามาควบคุมกระบวนการใช้งาน การทำงาน หรือการประมวลผล ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ซอฟต์แวร์ที่ควบคุม Database จะเรียกว่า DBMS (Database Management System) หรือ ระบบจัดการฐานข้อมูล มีหน้าที่ช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลได้ง่ายสะดวกและมีประสิทธิภาพ ทั้งการสร้างฐานข้อมูล การแก้ไขฐานข้อมูล หรือค้นหาข้อมูล ซึ่งช่วยลดการเก็บข้อมูลที่ซ้ำซ้อนและรักษาความถูกต้องของข้อมูลภายใน Database
พื้นฐานการออกแบบ Database ให้มีประสิทธิภาพ
ข้อมูลในยุคดิจิทัลกลายเป็นสินทรัพย์สำคัญของธุรกิจในการบริหารจัดการและการใช้งาน เพื่อให้การทำงานขององค์กรมีประสิทธิภาพและศักยภาพสูงขึ้น แนวคิดการออกแบบ Database ให้ยืดหยุ่นและตอบโจทย์กับความต้องการขององค์กรที่เปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์อย่างรวดเร็วจึงมีความสำคัญ โดยเฉพาะในยุค New Normal ที่มีความอ่อนไหวสูง ซึ่งหลักการออกแบบ Database ให้มีประสิทธิภาพง่าย ๆ มีดังนี้

- Performance ในองค์กรต้องมี Database ที่มีประสิทธิภาพการทำงานสูง เพื่อรองรับ Workload ได้หลากหลายรูปแบบภายในระบบเดียว
- Security มีความมั่นคงปลอดภัย ซึ่งสามารถปกป้องข้อมูลที่สำคัญได้ตลอดเวลา โดยไม่กระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานด้านอื่น ๆ
- Availability มั่นคงและมีเสถียรภาพ มี Downtime ที่ต่ำ ซึ่งจะลดโอกาสที่ระบบจะหยุดทำงาน โดยอาจเกิดขึ้นได้ทั้งจากความผิดพลาดของผู้ปฏิบัติงาน ระบบ และปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ ทำให้เกิดความเสียหายทั่วทั้งระบบ อีกทั้งต้องมีการอัปเกรดระบบทั้งในระดับของ Software และ Hardware ตลอดเวลา
- Manageability บริหารจัดการและบำรุงรักษาได้ง่าย เพื่อช่วยลดระยะเวลาในการทำงานลง รวมถึงลดต้นทุนด้านเวลาและค่าบำรุงรักษาลงด้วย
- Storage จัดเก็บข้อมูลได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ สามารถลดหรือเพิ่มขยายได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งจะช่วยให้องค์กรสามารถทำงานได้ยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น
แนวคิด Database นี้เป็นเพียงพื้นฐานคร่าว ๆ ที่ทุกองค์กรสามารยกระดับการทำงานของโครงสร้างพื้นฐานด้าน IT หรือ IT Infrastructure ซึ่งจะช่วยให้ Database สามารถตอบโจทย์โซลูชันที่แตกต่างกันออกไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งความยืดหยุ่น การทำงานเชิงรุก หรือการประมวลผลข้อมูลต่าง ๆ การเริ่มต้นลงทุนด้าน Database หรือ IT Infrastructure จึงเป็นก้าวแรกที่สำคัญขององค์กรธุรกิจ
วิวัฒนาการของ Database เป็นอย่างไร?

- Database ถูกพัฒนาขึ้นมาตั้งแต่ปี 1960 เริ่มต้นจาก Hierarchical และ Network Database
- จนมาถึงปี 1980 มีการนำเอา Object-Oriented-Database (OODBMS) มาใช้งาน ซึ่งเป็นพื้นฐานของระบบ Relation Database ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน บางครั้งจึงสามารถแบ่งประเภทของ Database ตามรูปแบบของชนิดข้อมูลได้ เช่น ตัวเลข ตัวอักษร หรือ รูปภาพ และแบ่งตามความนิยมของ Relational Database เช่น Distributed Database, Cloud Database หรือ NoSQL Database
- Relational Database ถูกคิดค้นขึ้นโดย E.F. Codd (IBM) ในปี 1970 โดยสร้างจากข้อมูลของกลุ่ม Table ที่มีข้อมูลภายในแบ่งตามประเภทที่ตั้งไว้ แต่ละ Table จะมี Column อย่างน้อย 1 ชนิด และแต่ละ Row จะมีข้อมูลตามชนิดที่ Column กำหนดไว้
Standard Query Language (SQL) ก็เป็นมาตรฐานหนึ่งที่ผู้ใช้งานสร้างไว้เชื่อมต่อกับ Relational Database ซึ่งง่ายต่อการเพิ่มข้อมูล ทำให้ไม่กระทบต่อโปรแกรมอื่น ๆ ที่ใช้งานร่วมกัน - Distributed Database คือ ฐานข้อมูลที่ถูกเก็บกระจายออกไปหลาย ๆ ที่ โดยอาศัยกระบวนการแจกจ่ายและสำรองข้อมูล ผ่านทางระบบ Network ซึ่งมี 2 รูปแบบ ได้แก่
– Homogeneous – ระบบทั้งหมดต้องเป็น OS และ Database ชนิดเดียวกัน
– Heterogeneous – ระบบจะเหมือนหรือต่างกันก็ได้ - NoSQL Database คือ ฐานข้อมูลที่ถูกใช้ในรูปแบบการกระจายข้อมูล จึงมีประสิทธิภาพสูงสำหรับ Big Data เพราะออกแบบมาเพื่อให้รองรับข้อมูลขนาดใหญ่และไม่ได้มีรูปแบบตายตัวได้
- Cloud Database คือ ฐานข้อมูลแบบใหม่ที่ถูกสร้างขึ้นบนระบบ Virtualized คล้ายกันกับระบบ Hybrid Cloud, Public Cloud หรือ Private Cloud โดยเราสามารถเพิ่ม ลด หรือปรับแต่งขนาดของ Resource ได้ตลอดเวลา

การจัดการข้อมูลที่นิยมในปัจจุบัน องค์กรส่วนใหญ่จึงนิยมใช้ Cloud Database เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจที่เริ่มต้นเปลี่ยนแพลตฟอร์มการเก็บข้อมูลสู่ Cloud หรือการ Migrate to Cloud รวมถึงธุรกิจที่เริ่มต้นสร้างฐานข้อมูลใหม่ ก็นิยมใช้ Cloud Database เช่นเดียวกัน เนื่องจากความยืดหยุ่นที่สามารถปรับใช้ได้หลากหลายโซลูชัน เหมาะกับหลายธุรกิจ ทำให้ Cloud Database สามารถตอบโจทย์ Workload ได้ดีกว่า Database ในรูปแบบอื่น ๆ
Cloud Database ของ Nipa cloud ดีอย่างไร
Cloud Database ที่มีประสิทธิภาพสูง เสถียร และตอบโจทย์ทุกการใช้งานของธุรกิจไทย ต้อง NIPA.Cloud ผู้ให้บริการ Cloud Server Thailand พร้อมด้วยโซลูชัน Database ที่สามารถสร้างระบบขึ้นใหม่ และ Plug In ได้ง่ายและรวดเร็ว ทำให้สามารถใช้งาน Database ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

NIPA.Cloud มีการออกแบบระบบควบคุม Cloud Database บนแพลตฟอร์ม NIPA Cloud Platform หรือ NCP ที่มีฟังก์ชันหลากหลาย ใช้งานง่าย พร้อมตอบโจทย์การทำงานบนความปลอดภัยได้อย่างครบครัน เช่น VPC, Multi Project และ Cloud Firewall นอกจากนี้ NIPA.Cloud ยังได้รับมาตรฐาน ISO/IEC และรางวัลต่างๆ มากมาย พร้อมด้วยมีบริการที่หลากหลาย เช่น Public Cloud และ Private Cloud พร้อมให้องค์กรสามารถใช้งานได้ใช้เทคโนโลยี Cloud ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด