ปัญหาที่หลายๆ องค์กรกำลังประสบอยู่กับการเลือกใช้งานทรัพยากรการประมวลผลหรือคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ อย่าง On–Cloud และ On–Premise ว่าทั้งสองระบบม ข้อดี-ข้อเสียแตกต่างกันออกไป มีความเหมาะสมในการใช้งานของแต่ละองค์กรที่แตกต่างกัน วันนี้เราจะมาดูกันว่า On–Cloud และ On–Premise มีความแตกต่างทางด้านข้อดี-ข้อเสีย อย่างไร?
On–Premise คือ IT Infrastructure ที่ตั้งอยู่ที่ไซต์ของคุณเอง โดยองค์กรสามารถบริหารจัดการ บำรุงรักษา อัปเดต Software และ Hardware ได้ด้วยตัวเอง รวมถึงการบริหารจัดการด้านทีมไอที, สถานที่, ระบบการควบคุมอากาศและไฟฟ้าเองอีกด้วย ซึ่งจะต้องมีการบำรุงรักษาอยู่เสมอๆ เป็นวงจรของการซื้อ-ติดตั้ง-ซ่อมบำรุง วนไปเรื่อยๆ นั่นเอง
On–Cloud คือ IT Infrastructure ที่องค์กรใช้งานจากผู้ให้บริการ Cloud service provider ซึ่งสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้การใช้งาน โดย Cloud service provider จะบริหารและจัดการด้านทรัพยากร Hardware และ Software เอง ให้อัปเดตและทันสมัยอยู่ตลอดเวลา ทำให้องค์กรที่ใช้งาน On-Cloud สามารถประหยัดต้นทุนและเวลาในการจัดการ รวมถึงสามารถใช้ทรัพยากรในการพัฒนาองค์กรให้เดินหน้าได้อย่างรวดเร็ว
ความปลอดภัย: ตั้งอยู่บนไซต์ของตัวเอง vs. ไว้วางใจผู้ให้บริการ
ความปลอดภัยเป็นปัจจัยที่สำคัญในการประเมินโครงสร้างพื้นฐานในด้าน IT (Infrastructure) ขององค์กร แต่เป็นปัจจัยที่ยากที่สุดในการเปรียบเทียบ เนื่องจากความต้องการของแต่ละองค์กรมีความแตกต่างกัน รวมถึงมีปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ที่ส่งผลต่อความปลอดภัยที่หลากหลาย เช่น ทีมไอทีในการรับผิดชอบ, ผู้ให้บริการ Cloud service provider หรือ เครื่องมือจัดการความปลอดภัย อย่าง Cloud Firewall เป็นต้น
แต่ความปลอดภัยที่สามารถเปรียบเทียบได้ ระหว่าง On–Cloud vs. On–Premise นั่นคือ ความไว้วางใจในการใช้งานของแต่ละองค์กร โดยสิ่งที่แตกต่างกันของทั้งสองระบบเป็นเรื่องของการควบคุมทีแตกต่างกัน สำหรับ On–Premise องค์กรจะสามารถดูแล ควบคุม และจัดการระบบได้เองทั้งหมด แต่ความเสี่ยงและเทคนิคความเชี่ยวชาญต้องขึ้นอยู่กับบุคลากรไอทีขององค์กรนั้นๆ
ส่วน On–Cloud การทำงานทั้งหมดองค์กรนั้นๆ สามารถที่จะดูแล ควบคุม และจัดการเองได้ แต่จะได้รับความช่วยเหลือจากผู้ให้บริการ โดยที่ผู้ให้บริการ cloud server จะดูแลทรัพยากรทั้ง Software และ Hardware ของตัว Cloud service provider เอง รวมถึงรับผิดชอบปัญหาที่ยากต่อการจัดการ เช่น สถานที่, ระบบควบคุมอากาศ, ระบบควบคุมไฟฟ้า เป็นต้น ตลอดจนมีผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลและให้คำแนะนำ
อย่างไรก็ตามความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดของความปลอดภัย คือ การตั้งอยู่บนไซต์ของตัวเอง หรือ ไว้วางใจผู้ให้บริการ Cloud service provider โดยองค์กรของคุณเองมีส่วนสำคัญในการตัดสินใจมากที่สุดนั่นเอง
ความน่าเชื่อถือ: On–Premise DR-Stie Vs. Cloud DR-Site
โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ที่มีความน่าเชื่อถือและความพร้อมในการใช้งานของแอปพลิเคชันเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่กระทบต่อความเสี่ยงของการใช้งาน เช่น ภัยพิบัติทางธรรมชาติ, ไฟไหม้, น้ำท่วม หรือแม้กระทั่งการเกิดโรคระบาดทำให้เจ้าหน้าที่ไม่สามารถใช้งานโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ด้านไอทีได้ตามปกติ คำตอบของปัญหาก็ตรงไปที่ On–Cloud ในทันที แต่เมื่อเกิดปัญหาทางด้านอินเทอร์เน็ต เว็บล่ม หรือทำให้ไม่สามารถเข้าถึง cloud server ที่อยู่บนผู้ให้บริการ Cloud service provider ได้ คำตอบก็คือ On–Premise ได้เช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม องค์กรสามารถพิจารณาเปรียบเทียบได้ถึงความเสี่ยงของการเกิดปัญหาทั้งสองรูปแบบได้ ว่าปัจจัยใดที่เกิดความเสี่ยงได้มากกว่า ระหว่าง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ และ ถูกตัดขาดการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต องค์กรอาจพิจารณาการใช้งานได้ทั้งสองรูปแบบ เพื่อประสิทธิภาพสูงสุด หรือ ใช้งาน Hybrid Cloud ในการจัดการโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) สำหรับส่วนงานที่สำคัญอาจมีการใช้งานบน On–Premise และการใช้งานที่รันอยู่ตลอดเวลาอาจใช้งานในส่วนของ On–Cloud เป็นต้น
นอกจากนี้การใช้งานทรัพยากร Cloud Server ยังจะช่วยให้องค์กรสามารถลดต้นทุน TCO (Total Cost of Ownership) เนื่องจากคุณไม่จำเป็นที่จะต้องลงทุนซื้อทรัพยากรจำนวนมาก การบำรุงรักษาและทำระบบซ่อมบำรุงด้วยตัวเอง ทั้งหมดสามารถครอบคลุมภายใต้ Cloud Services ที่จะทำให้การทำงานด้าน IT ขององค์กรมีความสะดวกสบายมากขึ้น รวมถึงช่วยลด Capex และ Opex ขององค์กร ที่จะทำให้ต้นทุนด้าน IT ลดลงนั่นเอง
ราคา: Investment by yourself vs. Pay–as–you–go
ราคาเป็นปัจจัยที่เห็นได้ชัดเจนของความแตกต่าง ระหว่าง On–Cloud vs. On–Premise เนื่องจาก On–Cloud มีการใช้งานที่ประหยัดต้นทุนมากกว่า โดยคิดเป็นรายชั่วโมงตามการใช้งานของผู้ใช้งาน รวมถึงไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าบำรุงรักษา, พลังงาน, สถานที่ หรือการเปลี่ยน Hardware บนทรัพยากร cloud server ขององค์กรเอง แต่สำหรับ On–Premise องค์กรจำเป็นที่จะต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายทั้งหมด รวมถึงทีมไอทีในการดูแล และจัดการทรัพยากรของคุณเอง
ความคล่องตัว
การใช้งาน Server แบบ On–premise เป็นเทคโนโลยีที่มีความมั่นคง และเสถียร แต่ก็ยังมีข้อจำกัดหลายๆ อย่าง เช่น ความยืดหยุ่นในการใช้งาน ความคล่องตัว และการเพิ่ม-ลดทรัพยากรได้ในทันที ซึ่ง Cloud Computing สามารถตอบสนองความต้องการในส่วนนี้ได้ดีกว่า โดยเฉพาะกับการใช้งานที่รวดเร็ว คล่องตัวกับสถานการณ์ในยุค 4.0 นี้
ยกตัวอย่างเช่น แอปพลิเคชัน “ชิมช้อปใช้” ก็มีการใช้งาน Cloud Computing เช่นเดียวกัน โดยแอปฯ นี้มีรูปแบบการเข้าใช้งานแบบกระจุกตัว เนื่องจากมีผู้เข้าใช้จำนวนมากๆ เป็นบางช่วงเวลา ซึ่งในขณะนั้น Cloud Computing สามารถยืดหยุ่นทรัพยากร เพื่อรองรับการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แตกต่างจาก On–premise ที่เป็นการลงทุนกับทรัพยากรแบบระยะยาว รวมถึงเจ้าหน้าที่ในการดูแล ทำให้องค์กรต้องลงทุนจำนวนมหาศาล แต่เมื่อมีการใช้งานที่น้อย ก็อาจทำให้เป็นการลงทุนกับทรัพยากรที่ศูนย์เปล่าได้ นั่นเป็นตัวอย่างหนึ่งของความแตกต่างระหว่าง Cloud Computing และ On–premise นั่นเอง
Cloud Services (24×7)
ความเห็นได้ชัดของการให้บริการที่ต่อเนื่องของ cloud provider in thailand คือการบริการตลอด 24×7 ทำให้องค์กรที่มีรูปแบบการทำงานตลอด 24 ชั่วโมง หรือการทำงานในตอนกลางคืน รวมถึงการทำงานขององค์กรระหว่างประเทศ สามารถทำงานได้อย่างไร้รอยต่อ เนื่องจากมีทีมงานให้ความช่วยเหลือตลอดเวลา สำหรับปัญหาเฉพาะหน้า
นอกจากนี้การช่วยเหลือจาก cloud provider in thailand ยังมีทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้าน IT ที่สามารถให้ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิค สำหรับลูกค้าที่มีความต้องการเฉพาะแบบ 8×5 ซึ่งเหมาะสำหรับลูกค้าระดับองค์กรอย่างมาก ที่จะทำให้ Private Cloud สามารถทำงานได้อย่างเสถียรและปลอดภัยมากขึ้น แบบไม่มีสะดุดนั่นเอง