OpenStack คือ แพลตฟอร์มที่สามารถควบคุมทรัพยากรเสมือนจริง (Virtual Resource) เพื่อสร้างและจัดการ Cloud Computing ได้ทั้ง Public Cloud และ Private Cloud ด้วยเครื่องมือบน OpenStack ซึ่งเรียกว่า “โปรเจ็กต์“ (Project) ในการสร้างการจัดการบริการคลาวด์ (Cloud Services) ซึ่งประกอบไปด้วย การประมวลผล (Compute), เครือข่าย (Network), พื้นที่เก็บข้อมูล (Storage), การระบุตัวตน (Identity) และ ฟังก์ชันพร้อมติดตั้ง (Image) โดยสามารถพัฒนา Cloud Computing ได้มากกว่าหนึ่ง “โปรเจ็กต์” (Project) ที่สามารถรวมเข้าด้วยกันเพื่อสร้างคลาวด์ที่มีความแตกต่างตามการใช้งานได้
ในการจำลองทรัพยากรต่างๆ บน OpenStack เช่น ที่เก็บข้อมูล (Storage Cloud), ตัวคำนวณบนคลาวด์ (instance cloud), CPU หรือ RAM จะแยกส่วนกับแอปพลิเคชันของผู้จำหน่ายที่หลากหลาย โดยใช้ชุดการเขียนแอปพลิเคชัน (APIs) ที่สอดคล้องกัน เพื่อสร้างทรัพยากรเสมือนและเครื่องมือประมวลผลคลาวด์มาตรฐานที่สามารถดูและโต้ตอบระบบได้โดยตรง
‘OpenStack’ ระบบโครงสร้างพื้นฐานที่มี Community ร่วมกันพัฒนา
ความเปลี่ยนแปลงของ OpenStack ในการจัดการแพลตฟอร์มครั้งใหม่ ด้วยชุดความคิดในการออกแบบเพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของผู้ใช้ ที่เรียกว่า ‘โครงสร้างพื้นฐานแบบเปิด’ หรือ ‘Open Infrastructure’ ในการประชุม OpenStack Summit ครั้งล่าสุดเมื่อปลายเดือนเมษายน 2019 ที่ผ่านมาและอัปเดตความคืบหน้าของการทำงานที่มีการจัดการกับความท้าทายเกิดขึ้น
OpenStack เป็น Open Source ที่พัฒนาขึ้นโดย OpenStack Foundation สุดยอดโครงสร้างพื้นฐานที่เห็นว่าการแบ่งปันชุดข้อมูลและการเข้าถึงเทคโนโลยีมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับผู้ใช้และชุมชน Open Source ซึ่งมีความเคลื่อนไหวในการอัปเดตข้อมูลต่างๆ ทุก 6 เดือน เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานอยู่เสมอ ทำให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานองค์ประกอบใหม่ๆ ที่มีอยู่บนแพลตฟอร์มทั้งด้านประสิทธิภาพ ความมั่นคง และความปลอดภัยสำหรับการสร้าง Public Cloud และ Private Cloud ที่เหมาะสม
OpenStack อนาคตของซอฟต์แวร์ในยุค ‘Open Infrastructure’
ในการประชุม OpenStack Summit จัดขึ้นเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงลำดับความสำคัญและการเปลี่ยนแปลงของ OpenStack โดยมีความมุ่งมั่นในการสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้ใช้งานอยู่เสมอ เพื่อให้แนวโน้มของเทคโนโลยีมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา แต่ปัญหาที่ผ่านของ OpenStack คือการบูรณาการเทคโนโลยีต่างๆ เข้าด้วยกัน ทำให้การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้จะสร้างการบูรณาการที่ดีขึ้นต่อไป
Jonathan Bryce (Executive Director, OpenStack Foundation) กล่าวว่า “เรามีชุมชนขนาดใหญ่เป็นหัวใจสำคัญของ OpenStack แต่ไม่มีนักพัฒนาคนไหนใช้ Code เพียงอย่างเดียวในการพัฒนา Project ของตนเองได้ เราจึงต้องพัฒนาสภาพแวดล้อม เพื่อช่วยในการบูรณาการแอปพลิเคชันต่างๆ บน OpenStack ได้มากขึ้น” นั่นเป็นมุมมองใหม่ในการเปลี่ยนแปลง OpenStack ที่จะช่วยในการทำงานให้สามารถพัฒนาร่วมกับเทคโนโลยีอื่นๆ ด้วยกันได้
ในการประชุม OpenStack Summit ที่จะช่วยให้ผู้ใช้งานบรรลุเป้าหมายการเปลี่ยนแปลงทางดิจิตอล OpenStack ได้มีการกำหนดเนื้อหาเทคโนโลยีที่น่าสนใจด้วยกันหลากหลายรูปแบบ ดังนี้
- Airship เครื่องมือจัดเตรียมระบบคลาวด์และจัดการวงจรชีวิตของข้อมูลที่ออกแบบ เพื่อช่วยให้องค์กรสามารถปรับใช้และจัดเตรียม Cloud Server บนสภาพแวดล้อมโครงสร้างพื้นฐานในจำนวนหลายๆ ไซต์ รวมถึงสภาพแวดล้อมการคำนวณรูปแบบใหม่อีกด้วย
- Zuul เป็นแพลตฟอร์ม CI/CD (continuous integration and continuous delivery) พร้อมกับการออกเวอร์ชัน 3 Zuul เป็นโครงการพัฒนาที่เน้นทำระบบการรวม, build และทดสอบการเปลี่ยนแปลงของโปรเจค
- Kata Containers เป็นชุมชนในการสร้าง Runtime Container ที่ปลอดภัย ด้วย Virtual Machine หรือ instance cloud ที่มีการทำงานเหมือนกัน Container แต่แยก Workload กัน โดยใช้เทคโนโลยี Virtualization ของฮาร์ดแวร์เป็นชั้นที่สองของการป้องกัน
- แพลตฟอร์ม StarlingX เป็นอีกหนึ่งโครงการ ในสแต็กซอฟต์แวร์ (Software Stack) บนโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ที่ช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถรันแอพพลิเคชันในสภาพแวดล้อมแบบกระจาย (Distributed EDGE)
การผสมผสานเทคโนโลยีจากการมีส่วนร่วมของผู้ใช้งาน OpenStack ทำให้ OpenStack เป็นหนึ่งใน Infrastructure ที่เหมาะสมต่อการใช้งาน Cloud Computing ทั้งในรูปแบบของ Public Cloud และ Private Cloud จากการมีส่วนร่วมของ NASA และ Rackspace รวมถึงองค์กรกว่า 250 องค์กรใน 130 ประเทศทั่วโลก ทำให้ OpenStack เป็นทางเลือกขององค์กรขนาดใหญ่ในการจัดการ Cloud Computing ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
เปลี่ยนมาใช้ Cloud ไทย กับ Nipa.Cloud ได้เลยวันนี้!
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่
LINE : @NipaCloud
Website: https://www.nipa.cloud/
Facebook: https://www.facebook.com/nipacloud/
Inbox: https://www.messenger.com/t/nipacloud
Email: sales@nipa.cloud
Call: 02-107-8251 ต่อ 444