Dedicated Server คืออะไร ทำไมเราถึงต้องใช้บริการ Dedicated Server

ทำความเข้าใจ Dedicated Server คืออะไร? Dedicated Server คือ บริการเช่า Server คุณภาพสูงทั้งเครื่อง ที่ตั้งอยู่ใน IDC (Internet Data Center) เป็นบริการสำหรับผู้ใช้งานที่ไม่ต้องการลงทุนซื้อเครื่อง Server เอง หรือไม่ต้องการใช้งานเครื่อง Server ร่วมกับผู้อื่น เนื่องจากอาจมีข้อมูลที่เป็นความลับขององค์กรอยู่ ซึ่ง Dedicated Server จะเข้ามาช่วยเพิ่มความเสถียร ความเร็ว และความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้งานที่มีฐานข้อมูลขนาดใหญ่ และต้องการความเป็นส่วนตัวสูง โดยผู้ใช้งานสามารถบริหารการจัดการ Dedicated Server ทั้งหมดเองได้ด้วยวิธี Remote Access (Telnet, Terminal, Remote Desktop) ซึ่งเป็นวิธีที่ทำให้ผู้ใช้ได้สัมผัสกับการใช้งาน Server เสมือนอยู่หน้าเครื่องโดยตรง   ทำไมต้องใช้บริการเช่า Dedicated Server? การบริหารจัดการข้อมูล (Data Management) ถือเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญที่จะผลักดันให้องค์กรของท่านสามารถก้าวไปสู่ความสำเร็จอีกขั้นได้ แต่ทว่าการลงทุนเพื่อให้ได้ Server ที่มีประสิทธิภาพการทำงานสูงและคุ้มค่ากับการลงทุนนั้น จำเป็นต้องมีความรู้และความเชี่ยวชาญทางด้านนี้โดยเฉพาะ หากองค์กรของท่านไม่มีบุคลากรเฉพาะทาง…

Database คืออะไร

Database คืออะไร? แล้ววิวัฒนาการของ Database เป็นอย่างไร

Database คือ กลุ่มข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีความสัมพันธ์กัน ถูกจัดเก็บอย่างเป็นระบบ โดยมีซอฟต์แวร์เข้ามาควบคุมการทำงาน ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Cloud Computing คือ? สำคัญอย่างไรและทำหน้าที่อะไรในธุรกิจ?

Cloud Computing คือ โมเดลหรือโครงสร้างในการให้บริการทรัพยากรทางด้านเทคโนโลยีเพื่อการคำนวณทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงได้ผ่านอินเทอร์เน็ต

On Cloud vs On Premise

เปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสีย ระหว่าง On-Cloud vs. On-Premise

ปัญหาที่หลายๆ องค์กรกำลังประสบอยู่กับการเลือกใช้งานทรัพยากรการประมวลผลหรือคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ อย่าง On–Cloud และ On–Premise ว่าทั้งสองระบบม ข้อดี-ข้อเสียแตกต่างกันออกไป มีความเหมาะสมในการใช้งานของแต่ละองค์กรที่แตกต่างกัน วันนี้เราจะมาดูกันว่า On–Cloud และ On–Premise มีความแตกต่างทางด้านข้อดี-ข้อเสีย อย่างไร?    On–Premise คือ IT Infrastructure ที่ตั้งอยู่ที่ไซต์ของคุณเอง โดยองค์กรสามารถบริหารจัดการ บำรุงรักษา อัปเดต Software และ Hardware ได้ด้วยตัวเอง รวมถึงการบริหารจัดการด้านทีมไอที, สถานที่, ระบบการควบคุมอากาศและไฟฟ้าเองอีกด้วย ซึ่งจะต้องมีการบำรุงรักษาอยู่เสมอๆ เป็นวงจรของการซื้อ-ติดตั้ง-ซ่อมบำรุง วนไปเรื่อยๆ นั่นเอง    On–Cloud คือ IT Infrastructure ที่องค์กรใช้งานจากผู้ให้บริการ Cloud service provider ซึ่งสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้การใช้งาน โดย Cloud service provider จะบริหารและจัดการด้านทรัพยากร Hardware และ Software เอง ให้อัปเดตและทันสมัยอยู่ตลอดเวลา ทำให้องค์กรที่ใช้งาน On-Cloud สามารถประหยัดต้นทุนและเวลาในการจัดการ รวมถึงสามารถใช้ทรัพยากรในการพัฒนาองค์กรให้เดินหน้าได้อย่างรวดเร็ว    ความปลอดภัย: ตั้งอยู่บนไซต์ของตัวเอง vs. ไว้วางใจผู้ให้บริการ    ความปลอดภัยเป็นปัจจัยที่สำคัญในการประเมินโครงสร้างพื้นฐานในด้าน IT (Infrastructure) ขององค์กร แต่เป็นปัจจัยที่ยากที่สุดในการเปรียบเทียบ เนื่องจากความต้องการของแต่ละองค์กรมีความแตกต่างกัน รวมถึงมีปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ที่ส่งผลต่อความปลอดภัยที่หลากหลาย เช่น ทีมไอทีในการรับผิดชอบ, ผู้ให้บริการ Cloud service provider หรือ เครื่องมือจัดการความปลอดภัย อย่าง Cloud Firewall เป็นต้น    แต่ความปลอดภัยที่สามารถเปรียบเทียบได้ ระหว่าง On–Cloud vs. On–Premise นั่นคือ ความไว้วางใจในการใช้งานของแต่ละองค์กร โดยสิ่งที่แตกต่างกันของทั้งสองระบบเป็นเรื่องของการควบคุมทีแตกต่างกัน สำหรับ On–Premise องค์กรจะสามารถดูแล ควบคุม และจัดการระบบได้เองทั้งหมด แต่ความเสี่ยงและเทคนิคความเชี่ยวชาญต้องขึ้นอยู่กับบุคลากรไอทีขององค์กรนั้นๆ    ส่วน On–Cloud การทำงานทั้งหมดองค์กรนั้นๆ สามารถที่จะดูแล ควบคุม และจัดการเองได้ แต่จะได้รับความช่วยเหลือจากผู้ให้บริการ โดยที่ผู้ให้บริการ cloud server จะดูแลทรัพยากรทั้ง Software และ Hardware ของตัว Cloud…

Cloud networking กับ Cloud computing แตกต่างกันอย่างไร?

Cloud networking กับ Cloud computing แตกต่างกันอย่างไร?

  Cloud networking กับ Cloud computing แตกต่างกันอย่างไร?   การใช้งานคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud computing) เริ่มแพร่หลายมากขึ้นในปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง เพราะองค์กรต่างๆ สามารถใช้งานแอปพลิเคชัน หรือ ซอฟต์แวร์ ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพบนคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud computing) ซึ่งเป็นที่ยอมรับเรื่องการใช้งานที่มากขึ้น แต่หลายๆ มักตั้งคำถามเกี่ยวกับระบบเครือข่ายคลาวด์ (Cloud networking) ว่ามีความแตกต่างกับ ระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud computing) อย่างไร? ในวันนี้เราจะมาหาคำตอบกัน   เมื่อเปรียบเทียบระหว่าง ระบบเครือข่ายคลาวด์ (Cloud networking) กับ ระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud computing) นั้นมีความคล้ายคลึงกันมาก แต่มีความแตกต่างกันหลักๆ คือ ระบบเครือข่ายคลาวด์ (Cloud networking) จะเป็นเรื่องของการเข้าถึงเครือข่ายคลาวด์ ส่วน ระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud computing) จะเกี่ยวข้องกับการทำงานของแอปพลิเคชันนั่นเอง   ระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud computing)   ระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud computing) คือ การย้ายแอปพลิเคชัน หรือ กระบวนการทำงานภายในองค์กรของคุณจาก Data Center ไปยังผู้ให้บริการคลาวด์ (Cloud Provider) โดยที่ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องดูแลฮาร์แวร์ (Hardware) หรืออุปกรณ์ต่างๆ ด้วยตนเอง เนื่องจากมีทีมงาน NOC และทีมงานผู้เชี่ยวชาญคอยดูแล Hardware ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย และเวลาในการทำงาน เพียงแค่มีการเชื่อมต่อผ่านอินเทอร์เน็ต (Internet)…

Magento แอปฯ พัฒนาเว็บ E-Commerce บน Cloud Thai

Magento แอปฯ พัฒนาเว็บ E-Commerce บน Cloud Thai

Magento แอปฯ พัฒนาเว็บ E-Commerce บน Cloud Thai เว็บไซต์ E-Commerce เป็นช่องทางที่หลายๆ แบรนด์ธุรกิจเลือกใช้งานสำหรับสื่อสารและทำธุรกิจ ซึ่งความสำคัญของเว็บไซต์ก็เปรียบเสมือนการสร้างร้านค้าที่มีความสวยงามและสะดวก แต่อยู่ในรูปแบบของสื่อออนไลน์ ซึ่งก็มีหลายโปรแกรมสำหรับการพัฒนาเว็บไซต์ E-Commerce หนึ่งในแพลตฟอร์มที่มีความสะดวก คือ Magento   สำหรับการพัฒนาเว็บไซต์ E-Commerce มักจะมีปัจจัยแวดล้อมหลายๆ รูปแบบ ทำให้การพัฒนาและ Run ระบบส่วนใหญ่ นักพัฒนาจะใช้งาน Cloud Computing ซึ่ง Cloud Thai ในปัจจุบันก็มีประสิทธิภาพ ความเร็ว และมีเสถียรภาพในการ Run ระบบอย่างต่อเนื่อง   Magento คืออะไร?   Magento เป็นแพลตฟอร์มจัดการข้อมูลบนเว็บไซต์แบบ Content Management System (CMS) ในการพัฒนาเว็บไซต์ E-Commerce ที่มีฟังก์ชันการใช้งานที่ครบถ้วน โดยใช้ภาษา PHP ทำให้ผู้ใช้งานสามารถพัฒนาเว็บไซต์ได้ตั้งแต่ จัดหมวดหมู่สินค้า, อัปเดตจำนวนสินค้าในคลัง,…

Data Science

Data Science ปรับข้อมูลเป็นมูลค่าบน Cloud Server

Data Science กับการเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นมูลค่าบน Cloud Server Data Science คืออะไร?   ‘Data Science’ หรือ ‘วิทยาศาสตร์ข้อมูล’ คือ วิธีการที่ใช้รวบรวมข้อมูลเชิงลึกจากทั้ง ข้อมูลที่มีโครงสร้าง และข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง ที่มีอยู่ภายในฐานข้อมูลขององค์กร โดยนำข้อมูลมาวิเคราะห์สถิติ ไปจนถึงกระบวนการ Machine Learning บน Cloud Server ซึ่งในองค์กรส่วนใหญ่แล้ว ‘Data Scientist’ หรือ ‘นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล’ นั้น ทำงานเพื่อเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นมูลค่า เพื่อเพิ่มรายได้ พร้อมๆ กับลดต้นทุน เพิ่มความไหลลื่นทางธุรกิจ และช่วยปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้าผ่านการทำงานบน Cloud Server นั่นเอง   Data Scientist ทำงานอย่างไร?   หลายๆ องค์กรที่ให้ความสนใจกับเทคโนโลยี ‘Big Data’ แน่นอนว่าต้องมีคนที่เข้ามาควบคุมนั่นคือ ‘นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล’ หรือ ‘Data Scientist’ ซึ่งต้องทำหน้าที่ควบคู่กับการทำงานของอีก…

OpenStack อนาคตของซอฟต์แวร์ในยุค ‘Open Infrastructure’

OpenStack อนาคตของซอฟต์แวร์ในยุค ‘Open Infrastructure’

OpenStack คือ แพลตฟอร์มที่สามารถควบคุมทรัพยากรเสมือนจริง (Virtual Resource) เพื่อสร้างและจัดการ Cloud Computing ได้ทั้ง Public Cloud และ Private Cloud ด้วยเครื่องมือบน OpenStack ซึ่งเรียกว่า “โปรเจ็กต์“ (Project) ในการสร้างการจัดการบริการคลาวด์ (Cloud Services) ซึ่งประกอบไปด้วย การประมวลผล (Compute), เครือข่าย (Network), พื้นที่เก็บข้อมูล (Storage), การระบุตัวตน (Identity) และ ฟังก์ชันพร้อมติดตั้ง (Image) โดยสามารถพัฒนา Cloud Computing ได้มากกว่าหนึ่ง “โปรเจ็กต์” (Project) ที่สามารถรวมเข้าด้วยกันเพื่อสร้างคลาวด์ที่มีความแตกต่างตามการใช้งานได้  ในการจำลองทรัพยากรต่างๆ บน OpenStack เช่น ที่เก็บข้อมูล (Storage Cloud), ตัวคำนวณบนคลาวด์ (instance cloud), CPU หรือ RAM จะแยกส่วนกับแอปพลิเคชันของผู้จำหน่ายที่หลากหลาย โดยใช้ชุดการเขียนแอปพลิเคชัน (APIs) ที่สอดคล้องกัน เพื่อสร้างทรัพยากรเสมือนและเครื่องมือประมวลผลคลาวด์มาตรฐานที่สามารถดูและโต้ตอบระบบได้โดยตรง   ‘OpenStack’ ระบบโครงสร้างพื้นฐานที่มี Community ร่วมกันพัฒนา  ความเปลี่ยนแปลงของ OpenStack ในการจัดการแพลตฟอร์มครั้งใหม่ ด้วยชุดความคิดในการออกแบบเพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของผู้ใช้ ที่เรียกว่า ‘โครงสร้างพื้นฐานแบบเปิด’ หรือ ‘Open Infrastructure’ ในการประชุม OpenStack Summit ครั้งล่าสุดเมื่อปลายเดือนเมษายน 2019 ที่ผ่านมาและอัปเดตความคืบหน้าของการทำงานที่มีการจัดการกับความท้าทายเกิดขึ้น  OpenStack เป็น Open Source ที่พัฒนาขึ้นโดย OpenStack Foundation สุดยอดโครงสร้างพื้นฐานที่เห็นว่าการแบ่งปันชุดข้อมูลและการเข้าถึงเทคโนโลยีมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับผู้ใช้และชุมชน Open Source ซึ่งมีความเคลื่อนไหวในการอัปเดตข้อมูลต่างๆ ทุก 6 เดือน เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานอยู่เสมอ ทำให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานองค์ประกอบใหม่ๆ ที่มีอยู่บนแพลตฟอร์มทั้งด้านประสิทธิภาพ ความมั่นคง และความปลอดภัยสำหรับการสร้าง Public Cloud และ Private Cloud ที่เหมาะสม   OpenStack อนาคตของซอฟต์แวร์ในยุค ‘Open Infrastructure’  ในการประชุม OpenStack Summit จัดขึ้นเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงลำดับความสำคัญและการเปลี่ยนแปลงของ OpenStack โดยมีความมุ่งมั่นในการสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้ใช้งานอยู่เสมอ เพื่อให้แนวโน้มของเทคโนโลยีมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา แต่ปัญหาที่ผ่านของ OpenStack คือการบูรณาการเทคโนโลยีต่างๆ เข้าด้วยกัน ทำให้การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้จะสร้างการบูรณาการที่ดีขึ้นต่อไป  Jonathan Bryce (Executive Director,…

Cloud Computing

ทำไมต้องใช้ Cloud Computing

  Cloud Computing หรือระบบการประมวลผลและหน่วยจัดเก็บข้อมูลรูปแบบออนไลน์ที่ช่วยลดความยุ่งยากในการติดตั้ง ดูแลระบบ และลดต้นทุนในการสร้างระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยมีบริการทั้งรูปแบบเครือข่ายส่วนตัว (Private Cloud), เครือข่ายสาธารณะ (Public Cloud) และใช้งานเครือข่ายแบบผสมผสาน (Hybrid Cloud)   เข้าใจง่ายๆ Cloud Computing คือการใช้งานระบบคอมพิวเตอร์ หรือซอฟต์แวร์แบบออนไลน์จากผู้ให้บริการที่แตกต่างกัน ซึ่งสามารถใช้งานได้อย่างสะดวกผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต รวมถึงสามารถกำหนดทรัพยากรของคอมพิวเตอร์ได้อย่างอิสระตามความต้องการ และลดต้นทุนด้วยระบบคิดค่าบริการตามการใช้งานจริงนั่นเอง   ประเภทของ Cloud Computing   Public Cloud เป็นระบบคลาวด์ที่ผู้ใช้งานทั่วไปสามารถเข้ามาใช้งานทรัพยากรในการสร้างเครือข่าย หรือระบบคอมพิวเตอร์ โดยสามารถใช้งานได้ทั้ง Hardware และ ซอฟต์แวร์ ซึ่งรูปแบบบริการก็จะมีความแตกต่างกันออกไปของแต่ละผู้ให้บริการคลาวด์ ทั้งนี้จะมีการคิดค่าบริการแบบตามการใช้งานจริงเป็นรายชั่วโมง Private Cloud เป็นระบบคลาวด์แบบปิดที่มีเฉพาะคนในองค์กรสามารถเข้าถึงทรัพยากรได้ โดยที่ระบบข้อมูลและ Software จะการจัดเก็บและป้องกันที่ปลอดภัยบน Data Center ของผู้ให้บริการ ซึ่งองค์กรสามารถใช้งานหรือปรับเปลี่ยนระบบได้อย่างอิสระ  Hybrid Cloud เป็นระบบคลาวด์แบบผสมผสานทั้ง Public Cloud และ…