คนทำเว็บต้องรู้! LAMP กับ LEMP คืออะไร ต่างกันอย่างไร?
เว็บไซต์เป็นสิ่งที่เราคุ้นเคยกันดี แต่เว็บไซต์ก็มีด้วยกันหลากหลายรูปแบบ เช่น เว็บไซต์ข่าว เว็บบล็อก เว็บ E-Commerce หรือเว็บสำหรับธุรกิจ ซึ่งแน่นอนว่าความแตกต่างกันส่วนใหญ่อยู่ที่การออกแบบ แต่จริง ๆ แล้วการทำงานและการพัฒนาเว็บก็ส่งผลต่อการแสดงผลหน้าบ้านเช่นเดียวกัน
วันนี้ NIPA Cloud เลยอยากแนะนำ Software สำหรับการทำ Develop Environment อย่าง ‘LAMP’ กับ ‘LEMP’ ซึ่งใช้ในการทำเว็บให้ไม่กระทบกับ Environment ของเครื่องที่ใช้อยู่
รู้จัก LAMP กันแล้วหรือยัง?
LAMP คือ การนำ Open Source Software ทั้ง 4 ตัว ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการจัดการทรัพยากรของ Web Server และยังเป็น Software ที่จำเป็นสำหรับการจัดทำ Web page ประกอบไปด้วย
- L (Linux) – ลินุกซ์ = เป็นระบบปฏิบัติการที่มีความทนทานสูง สามารถรองรับการใช้งานหนักได้ เช่น Redhat, Centos, Ubuntu, Suse ซึ่ง Linux ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องที่ให้บริการทั่วโลก เพราะปลอดภัยต่อการโจมตีของไวรัส และสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ แม้ว่าคอมพิวเตอร์จะมีทรัพยากรที่น้อยก็ตาม
- M (MySQL) – มายเอสคิวแอล = MySQL เป็นโปรแกรมจัดฐานข้อมูลขนาดเล็ก มีความเร็วสูง เรียกได้ว่ามันคือ Database แบบ Relational เพื่อจัดเก็บฐานข้อมูลที่จำเป็น จึงเหมาะสำหรับการใช้งานสร้างเว็บไซต์ทั่วไป โดยจะมีโปรแกรมช่วยในการจัดฐานข้อมูลที่แม่นยำ และมีความน่าเชื่อถือ
- P (PHP (พีเอสพี), Perl (เพอร์) หรือ Python (ไพทอน) = ตัว P ตัวนี้จะขึ้นอยู่กับว่าเราใช้คำสั่งอะไรเป็นหลัก ซึ่งทั้ง 3 อันเป็นภาษาสคริปต์ที่เขียนง่ายไม่ซับซ้อน สามารถใช้งานร่วมกับฐานข้อมูล MySQL หรือฐานข้อมูลอื่นได้ โดยจะเหมาะกับเว็บไซต์ที่ต้องการความยืดหยุ่นนั่นเอง
เมื่อรวมทั้ง 4 เข้าด้วยกันแล้ว LAMP คือ สิ่งที่เกิดมาเพื่อคนทำงานเว็บเลยทีเดียว นอกจากเขียนเว็บได้ด้วย PHP ก็สามารถเก็บข้อมูลไว้ใน MySQL และรันเว็บด้วย Apache บน Linux เรียกได้ว่าแค่มี LAMP ก็สะดวกสบายสำหรับคนทำเว็บแล้ว
LEMP คืออะไร?
LEMP หรือ LEMP Stack คือ กลุ่มของ Open Source ที่ใช้สำหรับสร้างเว็บไซต์ด้วยภาษา PHP ซึ่งจะประกอบไปด้วย
- L (Linux) – ลินุกซ์ = Linux operating system
- E (Nginx) – เอนจินเอ็กซ์ = Nginx web server (which replaces the Apache component of a LAMP stack)
- M (MySQL) – มายเอสคิวแอล = MySQL database (MariaDB)
- P (PHP (พีเอสพี), Perl (เพอร์) หรือ Python (ไพทอน) = dynamic content (PHP)
ทั้งนี้ การใช้งานตัว LEMP Stack จำเป็นต้องมีระบบปฏิบัติการ Linux เพื่อที่จะได้ใช้ในการลงตัว Nginx, MySQL และ PHP ซึ่งขึ้นอยู่กับว่า User จะเลือกระบบปฏิบัติการที่ตัวเองคุ้นเคยขนาดไหน โดยวิธีการลงจะเป็นการลงแยกของ Open Source แต่ละตัว ซึ่งเมื่อเอามา Integrate กันแล้วจะกลายเป็น LEMP Stack ให้เราได้ใช้งานกันนั่นเอง
สำหรับการเตรียมติดตั้ง LEMP (Linux + Nginx + MySQL + PHP) นั้น โดยปกติอาจใช้เวลาในการติดตั้งเป็นนาทีหรือชั่วโมง แต่หากเราใช้ Docker จะสามารถลดเวลาเหลือเพียงแค่หลักวินาทีเท่านั้น ซึ่งนับว่าการนำมาประยุกต์ใช้ด้วยกันจะสามารถทำให้เราทำงานได้ง่ายขึ้น