Data Science กับการเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นมูลค่าบน Cloud Server
Data Science คืออะไร?
‘Data Science’ หรือ ‘วิทยาศาสตร์ข้อมูล’ คือ วิธีการที่ใช้รวบรวมข้อมูลเชิงลึกจากทั้ง ข้อมูลที่มีโครงสร้าง และข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง ที่มีอยู่ภายในฐานข้อมูลขององค์กร โดยนำข้อมูลมาวิเคราะห์สถิติ ไปจนถึงกระบวนการ Machine Learning บน Cloud Server ซึ่งในองค์กรส่วนใหญ่แล้ว ‘Data Scientist’ หรือ ‘นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล’ นั้น ทำงานเพื่อเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นมูลค่า เพื่อเพิ่มรายได้ พร้อมๆ กับลดต้นทุน เพิ่มความไหลลื่นทางธุรกิจ และช่วยปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้าผ่านการทำงานบน Cloud Server นั่นเอง
Data Scientist ทำงานอย่างไร?
หลายๆ องค์กรที่ให้ความสนใจกับเทคโนโลยี ‘Big Data’ แน่นอนว่าต้องมีคนที่เข้ามาควบคุมนั่นคือ ‘นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล’ หรือ ‘Data Scientist’ ซึ่งต้องทำหน้าที่ควบคู่กับการทำงานของอีก 2 ฝ่าย คือ ‘Data Analyst’ และ ‘Data engineers’ โดยทั้ง 3 ฝ่ายมีหน้าที่ในการจัดการข้อมูล ดังนี้
– Data Scientist คือ ออกแบบโมเดลจากข้อมูล เพื่อหาช่องทางใหม่ๆ ให้องค์กร
– Data Analyst คือ วิเคราะห์และออกแบบการนำเสนอข้อมูล เพื่อแก้ไขปัญหาส่งต่างๆ ในองค์กร
– Data Engineers คือ ออกแบบช่องทางของข้อมูล วิธีการจัดเก็บ และการใช้งาน
Data Scientist vs. Data Analyst
ทั้งสองหน้าที่จะทำหน้าที่ใกล้ชิดกัน โดยที่นักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst) จะอยู่ภายใต้วิทยาศาสตร์ข้อมูลอีกทีหนึ่ง และทั้งสองต้องเข้าใจตรงกันว่าข้อมูลขององค์กรนั้นเป็นอย่างไร ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist) ก็จะดึงผลลัพธ์จากนักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst) มาเพื่อทำการแก้ปัญหาอีกต่อหนึ่งนั่นเอง
Data Science vs. Big Data
ทั้งวิทยาศาตร์ข้อมูล (Data Science) และ Big Data ล้วนเป็นของคู่กัน แต่วิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) นั้นใช้เพื่อดึงมูลค่าจากข้อมูลทุกๆ ขนาด ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่มีโครงสร้าง ไม่มีโครงสร้าง หรือกึ่งมีโครงสร้าง ซึ่ง Big Data นั้น มีประโยชน์แก่นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) ในหลายกรณีมากๆ เพราะว่า ยิ่งมีข้อมูลมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งรวมพารามิเตอร์เข้ารูปแบบที่กำหนดไว้ได้มากเท่านั้น
Data Scientist teams
วิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) เป็นงานที่ต้องการทีมที่มีความเป็นระเบียบ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist) ถือเป็นแกนหลักของทีมวิทยาศาตร์ข้อมูล ที่จะทำให้เดินหน้าจากข้อมูลไปยังการวิเคราะห์ และจากนั้นก็ทำการเปลี่ยนข้อมูลที่วิเคราะห์ ไปยังส่วนการผลิตที่เพิ่มมูลค่า ซึ่งต้องอาศัยทักษะและบทบาทหนักมาก ตัวอย่างเช่น นักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst) ควรจะเข้ามาช่วยตรวจสอบข้อมูล ก่อนที่จะทำการนำเสนอให้กับทีม และพยายามรักษารูปแบบข้อมูลไว้ให้เหมือนเดิม ส่วนนักวิศวกรรมข้อมูล (Data engineer) เป็นหน่วยงานที่จำเป็นต่อการสร้างท่อลำเลียงข้อมูล เพื่อทำการตกแต่งเซ็ตข้อมูล ให้สามารถใช้กับส่วนอื่นๆ ของบริษัทได้
องค์ประกอบในการทำ วิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science)
-
Data Processing & cleaning
ขั้นตอนการจัดแบ่งและจัดเตรียมข้อมูลโดยรวม ด้วยการจัดการกับชนิดของชุดข้อมูลที่แตกต่างกัน และนำไปสู่การวิเคราะห์หรือการสร้างแบบจำลองในที่สุด -
Analysis & Modelling
การวิเคราะห์และทำความเข้าใจกับข้อมูลอย่างลึกซึ้ง ในแง่ของสถิติและคณิตศาสตร์ เพื่อสร้างและใช้โมเดล Machine Learning เชิงวิเคราะห์หรือทำนายที่หลากหลาย -
Programming languages
วิทยาศาสตร์ข้อมูลต้องการการทดสอบหลายรูปแบบและการปรับให้เหมาะสม พร้อมกับการสร้างภาพข้อมูล เพื่อดึงข้อมูลเชิงลึกที่ถูกต้องทำการอนุมานทำนายหรือการตัดสินใจ -
การจัดการข้อมูล
อัลกอริธึมและการผลิตขององค์กรต้องมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เพื่อจัดเก็บข้อมูลโดยการกำหนดค่าเครื่องที่เหมาะสม และให้ระบบสามารถทำงานในสคริปต์ที่กำหนดไว้ -
รูปแบบการตรวจสอบและความรู้เกี่ยวกับโดเมน
การจัดรูปแบบข้อมูล โดยมองหารูปแบบและสำรองข้อมูลจากการวิเคราะห์และตรวจสอบทุกขั้นตอน เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการของอุตสาหกรรม สิ่งนี้เป็นทักษะที่สำคัญของ นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist) -
Communication & Visualisation
การสื่อสารเป็นทักษะที่สำคัญสำหรับ นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist) ในการสื่อสารแบบจำลองหรือการคาดการณ์ที่พวกสร้างขึ้นมา กับฝ่ายงานที่เกี่ยวของ เพื่อบรรลุเป้าหมายที่วางเอาไว้ -
Open Source Community
วิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) มักจะสร้างขึ้นด้วยเครื่องมือ Open Source ดังนั้นการเรียนรู้และทำความรู้จักการทำงานของระบบเหล่านี้ เพื่อสนับสนุนการทำงานของระบบ
ความน่าสนใจของวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science)
ความน่าสนใจของวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) ขึ้นอยู่กับความจำเป็นขององค์กรนั้นๆ วิทยาศาสตร์ข้อมูลอาจช่วยองค์กรสร้างเครื่องมือต่างๆ ที่ไว้ใช้ทำนายความล้มเหลวของฮาร์ดแวร์ หรือช่วยให้องค์กรสามารถบำรุงรักษาและป้องกันการ Downtime ที่ไม่ได้วางแผนไว้ได้ และยังสามารถช่วยคาดการณ์ได้ว่าเราควรวางผลิตภัณฑ์ ไว้บนเชลฟ์ของซุปเปอร์มาร์เก็ต หรือคาดได้ว่า ด้วยรูปลักษณ์และลักษณะของผลิตภัณฑ์นั้น จะมีความนิยมเป็นอย่างไร เป็นต้น
วิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) กำลังเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าของอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างรวดเร็วด้วยนวัตกรรมข้อมูลกลายเป็นฟังก์ชันหลักขององค์กร เช่น การขาย, การตลาด หรือ การออกแบบผลิตภัณฑ์ก็ตาม ในปัจจุบันล้วนต้องใช้ วิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) ในการทำงานทั้งสิ้น
ข้อมูลจาก Gemalto ระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยของข้อมูล ในปี 2018 พบว่า 89% ขององค์กรสามารถใช้งาน วิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) เพื่อให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ
สำหรับองค์กรที่สนใจการทำ ‘Big Data’ สร้างโซลูชันระบบการจัดการแหล่งเก็บข้อมูลดิบ (Raw data) ไว้ใน ทะเลสาบข้อมูล (Data Lake) รวมถึง โซลูชันการจัดการแหล่งเก็บข้อมูลใหม่ตามโครงสร้าง ที่เรียกว่า โกดังข้อมูล (Data Warehouse) เพื่อสร้างระบบสำหรับสกัดข้อมูล (Extract) ปรับแต่งโครงสร้างข้อมูล (Transform) และนำไปจัดเก็บ (Load) หรือ ETL จาก Data lake เข้าสู่ Data warehouse
ทั้งนี้ Nipa Cloud ผู้ให้บริการ Cloud Server Thailand ที่มีความรวดเร็ว ปลอดภัย และเสถียร บนโครงสร้างพื้นฐาน Data Center ที่อยู่ใจกลางการสื่อสาร International Internet Gateway ทำให้สามารถใช้งาน Cloud Computing ได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ทำการรวบรวม Big Data สร้างโซลูชั่นการจัดการแหล่งเก็บข้อมูลให้เป็นระบบภายใต้โครงสร้าง OpenStack ทำให้สามารถใช้งาน Cloud ได้อย่างมีประสิทธิภาพ NIPA.Cloud จึงได้รับมาตรฐาน ISO/IEC และรางวัลต่างๆ มากมาย พร้อมด้วยมีบริการที่หลากหลาย เช่น Public Cloud และ Private Cloud ให้ผู้ใช้งานได้ใช้เทคโนโลยี Cloud ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด