ในยุคที่บทบาทของเทคโนโลยีเริ่มมีมากขึ้น ธุรกิจส่วนใหญ่ก็พบเจอกับความเปลี่ยนแปลงแบบดิจิทัล หรือ “Digital Transformation” แต่ในหลาย ๆ ครั้ง มักจะเป็นที่สงสัยว่าคำนี้หมายถึงอะไร? และ ธุรกิจ SMEs ควรปรับตัวอย่างไรในยุคดิจิทัล
Digital Transformation ความเปลี่ยนแปลงที่ท้าทายทุกธุรกิจ
หลาย ๆ คนคงนึกภาพว่าการปรับตัวธุรกิจสู่ยุคดิจิทัล หรือ “Digital Transformation” ว่าเป็นการใช้เทคโนโลยีอย่างเว็บไซต์ หรือ การสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ หรือ ใช้เทคโนโลยีเพียงจัดเก็บข้อมูล และ ลดความเสี่ยงต่อแฮกเกอร์ ซึ่งนั่นยังไม่ใช่ทั้งหมดของ “Digital Transformation”
Digital Transformation คืออะไร?
“Digital Transformation” คือ การปรับใช้เทคโนโลยีเพื่อลดความซับซ้อนของกระบวนการทางธุรกิจในการปรับปรุง จากโครงสร้างของกระบวนการทำงาน และ แนวคิดขององค์กร ตั้งแต่ ผู้นำองค์กร จนถึง บุคลากรภายในองค์กร รวมถึงขยายบริการและผลิตภัณฑ์ด้วยเทคโนโลยีไปสู่โลกดิจิทัล
จากการวิจัยของ Bain & Company รายได้ขององค์กรที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลเพิ่มขึ้น 14% ระหว่างปี 2558-2560 (มากกว่าการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเทคโนโลยีในธุรกิจอุตสาหกรรมเดียวกัน) Bain & Company กล่าวเพิ่มเติมว่า ผลกำไรตามรูปแบบที่คล้ายกัน – 83% ขององค์กรที่ทำ Digital Transformation อัตรากำไรเพิ่มขึ้น ในขณะที่องค์กรที่ยังไม่ได้ทำมีจำนวนน้อยกว่าครึ่งหนึ่ง
อีกความเชื่อผิด ๆ ของกลุ่มคน คือ Digital Transformation เป็นเรื่องขององค์กร หรือ ธุรกิจ ขนาดใหญ่เท่านั้น แต่ในความเป็นจริงองค์กรทุกขนาด และ ทุกอุตสาหกรรมกำลังยอมรับความเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้
ธุรกิจขนาดเล็กกับ – Digital Transformation
การสำรวจล่าสุดของหน่วยงานวิจัยด้านไอที พบว่า มีธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กถึง 1,600 แห่ง มีเพียง 18% เท่านั้นที่ไม่ได้มีรูปแบบการทำ Digital Transformation นั่นหมายถึง 82% ของ SMB อยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลแล้ว – Anurag Agrawal CEO ของ Techaisle กล่าว
การใช้เทคโนโลยีเป็นรากฐาน คือส่วนสำคัญขององค์กรที่ปรับตัวสำหรับ Digital Transformation จากการวิจัยของ Agrawal พบว่า 42% ของ SMB กำลังสร้างมุมมองแบบองค์รวมที่เกิดเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล คือ การมองกระบวนการที่ส่งผลกระทบต่อทุกแง่มุมของธุรกิจ และ เชื่อว่าการปรับตัวทางดิจิทัลต้องกลายเป็นส่วนสำคัญของกลยุทธ์องค์กร
“โครงสร้าง” ขององค์กรคือส่วนสำคัญ ของ Digital Transformation
หลาย ๆ องค์กรที่ก้าวสู่ความเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล หรือ Digital Transformation ได้เกิดความคิดแบบองค์รวม และ รอบคอบมากขึ้น ซึ่งปัจจัยที่สำคัญที่สุดมุ่งเน้นไปที่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างขององค์กร โดยในช่วงเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงทางดิจิตอลมี 3 ประเด็นหลัก ๆ ที่ควรให้ความสำคัญ
1.สร้างสรรค์พาร์ทเนอร์ทางธุรกิจ
ขั้นแรกให้ร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสียกับองค์กร โดยต้องเข้าใจก่อนว่า Digital Transformation ไม่ได้เป็นเพียงการเทคโนโลยีแบบใหม่เท่านั้น แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานขององค์กรทั้งหมด ซึ่งสอดคล้องกับงบประมาณขององค์กรด้วย เพราะ โครงสร้างขององค์กรในยุคดิจิทัลต้องมีงบประมาณเพื่อใช้จ่ายทางด้านไอที เป็นตัวขับเคลื่อนองค์กร
ยกตัวอย่างเช่น แพลตฟอร์ม E-Commerce ของธุรกิจที่มีการใช้งานที่ยาก และ สร้างความสับสนกับผู้ใช้ ทำให้ผู้ใช้งานไม่กดซื้อสินค้า และทิ้งสินค้าในตะกร้า ถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงแพลตฟอร์มไปสู่ยุคดิจิทัล แต่อาจจะไม่สามารถการันตีได้ว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการขายและการตลาดหรือไม่ หรือ องค์กรจะมีความพยายามในการพัฒนาแพลตฟอร์มที่สามารถใช้ประโยชน์ได้จริงหรือไม่
อย่างที่กล่าวไปในข้างต้น ว่า Digital Transformation ไม่สามารถเกิดขึ้นได้จากการเพิ่มขึ้น หรือ การพัฒนาด้านเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว หรือองค์กรไม่สามารถปรับตัวในยุคดิจิทัลได้จากการพัฒนาแผนกไอทีเพียงอย่างเดียว ซึ่งต้องเป็นหน้าที่ของผู้นำองค์กรที่จะสร้างความสัมพันธ์ทั่วทั้งองค์กร เพื่อการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการทำงานในสอดรับกับยุคดิจิทัล
“Data” – กุญแจสำคัญของ Digital Transformation
2.ถอดรหัสความสำเร็จจาก “Data”
ลำดับต่อมา องค์กรจะต้องให้ความสำคัญกับการเก็บข้อมูลทางดิจิทัลที่ให้บริการ ตัวอย่างง่าย ๆ เช่น ร้านกาแฟที่ให้บริการ Wi-Fi ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่มักจะชอบการใช้งาน Wi-Fi ที่ร้านกาแฟ แต่ถ้าร้านกาแฟสามารถสร้างข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งานของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็น ระยะเวลาการใช้งาน, พฤติกรรมการใช้งานของลูกค้า, อุปกรณ์ที่ลูกค้าใช้งาน และอื่นๆ “ข้อมูล” ที่ได้มาสามารถใช้ในการปรับปรุงการบริการ หรือ ผลิตภัณฑ์ รวมถึงกลยุทธ์ในการทำให้ลูกค้ากลับมาใช้บริการซ้ำอีกด้วย
“ข้อมูล” ยิ่งมีขนาดใหญ่ขึ้น ความท้าทายของการจัดการข้อมูลยิ่งมากขึ้นด้วย ซึ่งข้อมูลขนาดใหญ่จะสามารถบ่งชี้ลำดับความสำคัญในการจัดการต่าง ๆ ภายในองค์กร รวมถึงจุดแข็ง จุดอ่อน และ ข้อผิดพลาดภายในกระบวนการทำงาน โดยจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจข้อมูลเหล่านั้นในการสร้างความสัมพันธ์ของคู่ค้า และ พนักงาน ที่จะสร้างจุดแข็งภายในองค์กรให้มีมากขึ้นด้วย
3.สิ่งสำคัญ คือการช่วยให้ระบบธุรกิจสามารถสื่อสารกันผ่านทาง API ซึ่ง Michael Schrage ของ MIT อธิบายว่า “เส้นทางสำหรับการปรับเปลี่ยนกระบวนการ คือ การทำงานพัฒนาระบบที่สามารถทำงานร่วมกันเป็นแพลตฟอร์ม”
สำหรับ Digital Transformation การเปลี่ยนแปลงระบบโครงสร้างด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน เริ่มเป็นที่สนใจ และ มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างในหลายอุตสาหกรรมที่รวดเร็ว รวมถึงมีการอัพเดทเทคโนโลยีใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา การปรับเปลี่ยนนี้อาจจะเป็นชัยชนะในครั้งแรกที่จะนำไปสู่ชัยชนะขององค์กรภายในอนาคต ซึ่งระบบดิจิทัลนี้เป็นโอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงไปสู่ความสำหรับในระยะยาว ทาง Nipa Cloud จึงเล็งเห็นและให้ความสำคัญกับแนวคิด Digital Transformation อย่างมาก เพื่อเป็นการลดต้นทุนทางธุรกิจ ตอบสนองอย่างรวดเร็ว และเน้นความปลอดภัยของข้อมูลเป็นหลัก เราจึงมีบริการ Cloud Services ที่เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน สร้างระบบปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ เน้นความรวดเร็ว ปลอดภัย ตอบสนองเป้าหมายขององค์กรได้ดีที่สุด
ที่มา. BizTech by Talia Colwell