ใช้งานคลาวด์ให้ง่ายขึ้น ด้วย ‘Flextainer’ บริการ PaaS ใหม่ล่าสุดจาก NIPA Cloud

NIPA Cloud เปิดตัวโปรดักต์ใหม่ล่าสุด ‘Flextainer’ บริการแพลตฟอร์ม (Platform-as-a-Service: PaaS) ที่จะมาเพิ่มความสะดวก และเสริมความยืดหยุ่น ให้คลาวด์ของคุณใช้งานได้ง่ายขึ้น ในราคาที่ถูกลง Flextainer มาจากการรวมกันของสองคำ คือ ‘Flexibility’ และ ‘Container’ ที่นิยามบริการแพลตฟอร์มตัวใหม่ล่าสุดของเราได้อย่างครบถ้วน Flextainer คือ PaaS ที่สามารถใช้งาน Docker, Kubernetes, Load Balance และระบบการใช้งานแบบ Auto Scale พร้อมแก้ปัญหาการจัดการโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ให้ใช้งานง่ายและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ด้วยการพัฒนาจากทีมผู้เชี่ยวชาญของ NIPA Cloud เสริมให้ Flextainer เป็นแพลตฟอร์มอันดับหนึ่งที่ตอบโจทย์การใช้บริการคลาวด์กับทุกภาคส่วน คุณสมบัติหลักของ Flextainer คุณสมบัติหลักของ Flextainer มีดังนี้ ลดความซับซ้อนในการจัดการโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ ด้วยประสิทธิภาพที่พัฒนาขึ้น ทำให้ Flextainer สามารถจัดเตรียม containers, clusters และ environments ได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว สามารถปรับใช้และเรียกใช้แอปพลิเคชันทั้งแบบ traditional และ cloud-native…

NIPA Cloud Space (NCS) EP.5 พัฒนาลงลึกถึงระดับโครงสร้าง | Part: Infrastructure

NIPA Cloud ให้ความสำคัญกับ Instance อย่างมาก โดย CPU ของ Instance ใน NIPA Cloud Space แต่ละตัวจะแยก core CPU ไปในแต่ละ Instance ทำให้ประสิทธิภาพของ Instance ดีขี้นเป็นอย่างมากเมื่อเทียบกับตัวเดิม

เปิดตัว ‘DDoS Protected IP’ โซลูชันป้องกัน DDoS ระดับ Tbps จากเทคโนโลยี Cloudflare

DDoS หรือ Distributed Denial of Service คือ การโจมตีทางไซเบอร์รูปแบบหนึ่ง โดยแฮกเกอร์จะทำการส่ง Traffic ในปริมาณที่มากกว่าปกติจากหลากหลายแหล่ง ไปยังเว็บไซต์หรือเว็บแอปพลิเคชันที่ต้องการโจมตีพร้อม ๆ กัน โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้เป้าหมายการโจมตีดังกล่าวไม่สามารถเข้าใช้งานได้ หรือที่นิยมเรียกกันว่าเว็บไซต์ล่มหรือแอปล่มนั่นเอง ซึ่งจะส่งผลให้การดำเนินงานของธุรกิจเกิดการหยุดชะงัก ก่อให้เกิดเป็นความเสียหายทางด้านการเงิน ชื่อเสียง ภาพลักษณ์ รวมถึงความน่าเชื่อถือของตัวธุรกิจเอง สำหรับการโจมตีแบบ DDoS บน Layer 3 หรือ Network Layer ในระดับ IP Address นั้น แม้ว่าจะไม่ใช่ปรากฏการณ์ใหม่ และสามารถตรวจพบได้ง่าย แต่การที่องค์กรต่าง ๆ จะสามารถรับมือได้นั้นเป็นไปได้ยาก เนื่องจากเลข Public IP Address ของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ต่าง ๆ สามารถตรวจสอบได้ง่ายบนอินเทอร์เน็ต ทำให้เมื่อแฮกเกอร์ทราบเลข Public IP Address ของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ในองค์กร และทำการโจมตีแบบ DDoS โดยการส่งแพ็คเกจข้อมูลที่มีปริมาณมากจนเต็มแบนด์วิธ (Bandwidth) ได้สำเร็จแล้วนั้น…