Cloud Migration กลยุทธ์ปรับโครงสร้าง IT ที่ผู้ประกอบการต้องรู้

“Cloud Migration” กลยุทธ์ระดับองค์กรที่กำลังมาแรง

Cloud Migration กลยุทธ์ปรับโครงสร้าง IT ที่ผู้ประกอบการต้องรู้! Cloud Computing เป็นระบบที่เปลี่ยนโฉมของวงการไอที ด้วยการให้บริการโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถติดตั้งแอปพลิเคชันและข้อมูลไว้บน Cloud ทำให้สามารถลดต้นทุนและเพิ่มความคล่องตัวในการทำงานได้มากขึ้น ระบบ Legacy IT ที่มีการใช้ฮาร์ดแวร์อย่างสิ้นเปลือง การบริหารจัดการที่ยุ่งยาก ยืดหยุ่นน้อย มีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาสูง การย้ายระบบมาสู่ Cloud Computing จะช่วยลดปัญหาต่าง ๆ ลงได้ และพร้อมรองรับเทคโนโลยีที่หลากหลายในการพัฒนาองค์กรและธุรกิจในอนาคต เช่น Big Data, Machine Learning หรือ AI Cloud Migration คืออะไร? Cloud Migration คือขั้นตอนในการย้ายข้อมูลด้วย Cloud Computing ซึ่งในปัจจุบันองค์กร ย้ายระบบจากศูนย์ข้อมูลที่มีอยู่ (ศูนย์ข้อมูลในพื้นที่) ไปยัง Public Cloud ย้ายระบบจาก Cloud หนึ่งไปยัง Cloud อีกแห่งหนึ่งหรือที่รู้จักกันว่าการโยกย้าย Cloud-to-Cloud ย้ายระบบ Cloud กลับไปสู่ระบบเดิมออกจากระบบ…

Magento คืออะไร? ทำไมจึงควรใช้สร้างเว็บ E-Commerce

Magento คืออะไร? ทำไมจึงควรใช้สร้างเว็บ E-Commerce การซื้อขายบนโลกออนไลน์กลายเป็นเรื่องปกติในยุค New Normal โดยเฉพาะการสั่งซื้อสินค้าผ่านเว็บ E-Commerce ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกซื้อ ชำระเงิน เช็กสินค้า หรือรีวิวได้ในเว็บเดียว รวมถึงหลาย ๆ เว็บอาจจะกลายเป็น Community สำหรับการพูดคุยได้อีกด้วย กุญแจสำคัญก็คือ Software Development อย่าง Magento Magento คืออะไร? Magento เป็นแพลตฟอร์มจัดการข้อมูลบนเว็บไซต์แบบ Content Management System (CMS) ในการพัฒนาเว็บไซต์ E-Commerce ที่มีฟังก์ชันการใช้งานที่ครบถ้วน โดยใช้ภาษา PHP ทำให้ผู้ใช้งานสามารถพัฒนาเว็บไซต์ได้ตั้งแต่ จัดหมวดหมู่สินค้า, อัปเดตจำนวนสินค้าในคลัง, ระบบชำระเงิน, การจัดส่ง, ระบบโปรโมชัน แต่ Magento ไม่ใช่โปรแกรมสำเร็จรูป ผู้ใช้จึงต้องเขียน Code ขึ้นมาเอง ซึ่งจะมีความยืดหยุ่นในการออกแบบ และมีฟังก์ชันอำนวยความสะดวกสำหรับการสร้างเว็บไซต์ได้มากกว่าอีกด้วย Magento ทำอะไรได้บ้าง? ข้อได้เปรียบของ Magento คือ…

คนทำเว็บต้องรู้! LAMP กับ LEMP คืออะไร ต่างกันอย่างไร?

คนทำเว็บต้องรู้! LAMP กับ LEMP คืออะไร ต่างกันอย่างไร?

คนทำเว็บต้องรู้! LAMP กับ LEMP คืออะไร ต่างกันอย่างไร? เว็บไซต์เป็นสิ่งที่เราคุ้นเคยกันดี แต่เว็บไซต์ก็มีด้วยกันหลากหลายรูปแบบ เช่น เว็บไซต์ข่าว เว็บบล็อก เว็บ E-Commerce หรือเว็บสำหรับธุรกิจ ซึ่งแน่นอนว่าความแตกต่างกันส่วนใหญ่อยู่ที่การออกแบบ แต่จริง ๆ แล้วการทำงานและการพัฒนาเว็บก็ส่งผลต่อการแสดงผลหน้าบ้านเช่นเดียวกัน วันนี้ NIPA Cloud เลยอยากแนะนำ Software สำหรับการทำ Develop Environment อย่าง ‘LAMP’ กับ ‘LEMP’ ซึ่งใช้ในการทำเว็บให้ไม่กระทบกับ Environment ของเครื่องที่ใช้อยู่ รู้จัก LAMP กันแล้วหรือยัง? LAMP คือ การนำ Open Source Software ทั้ง 4 ตัว ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการจัดการทรัพยากรของ Web Server และยังเป็น Software ที่จำเป็นสำหรับการจัดทำ Web page ประกอบไปด้วย L…

Cloud networking กับ Cloud computing แตกต่างกันอย่างไร?

Cloud networking กับ Cloud computing แตกต่างกันอย่างไร?

  Cloud networking กับ Cloud computing แตกต่างกันอย่างไร?   การใช้งานคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud computing) เริ่มแพร่หลายมากขึ้นในปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง เพราะองค์กรต่างๆ สามารถใช้งานแอปพลิเคชัน หรือ ซอฟต์แวร์ ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพบนคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud computing) ซึ่งเป็นที่ยอมรับเรื่องการใช้งานที่มากขึ้น แต่หลายๆ มักตั้งคำถามเกี่ยวกับระบบเครือข่ายคลาวด์ (Cloud networking) ว่ามีความแตกต่างกับ ระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud computing) อย่างไร? ในวันนี้เราจะมาหาคำตอบกัน   เมื่อเปรียบเทียบระหว่าง ระบบเครือข่ายคลาวด์ (Cloud networking) กับ ระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud computing) นั้นมีความคล้ายคลึงกันมาก แต่มีความแตกต่างกันหลักๆ คือ ระบบเครือข่ายคลาวด์ (Cloud networking) จะเป็นเรื่องของการเข้าถึงเครือข่ายคลาวด์ ส่วน ระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud computing) จะเกี่ยวข้องกับการทำงานของแอปพลิเคชันนั่นเอง   ระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud computing)   ระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud computing) คือ การย้ายแอปพลิเคชัน หรือ กระบวนการทำงานภายในองค์กรของคุณจาก Data Center ไปยังผู้ให้บริการคลาวด์ (Cloud Provider) โดยที่ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องดูแลฮาร์แวร์ (Hardware) หรืออุปกรณ์ต่างๆ ด้วยตนเอง เนื่องจากมีทีมงาน NOC และทีมงานผู้เชี่ยวชาญคอยดูแล Hardware ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย และเวลาในการทำงาน เพียงแค่มีการเชื่อมต่อผ่านอินเทอร์เน็ต (Internet)…

OpenStack อนาคตของซอฟต์แวร์ในยุค ‘Open Infrastructure’

OpenStack อนาคตของซอฟต์แวร์ในยุค ‘Open Infrastructure’

OpenStack คือ แพลตฟอร์มที่สามารถควบคุมทรัพยากรเสมือนจริง (Virtual Resource) เพื่อสร้างและจัดการ Cloud Computing ได้ทั้ง Public Cloud และ Private Cloud ด้วยเครื่องมือบน OpenStack ซึ่งเรียกว่า “โปรเจ็กต์“ (Project) ในการสร้างการจัดการบริการคลาวด์ (Cloud Services) ซึ่งประกอบไปด้วย การประมวลผล (Compute), เครือข่าย (Network), พื้นที่เก็บข้อมูล (Storage), การระบุตัวตน (Identity) และ ฟังก์ชันพร้อมติดตั้ง (Image) โดยสามารถพัฒนา Cloud Computing ได้มากกว่าหนึ่ง “โปรเจ็กต์” (Project) ที่สามารถรวมเข้าด้วยกันเพื่อสร้างคลาวด์ที่มีความแตกต่างตามการใช้งานได้  ในการจำลองทรัพยากรต่างๆ บน OpenStack เช่น ที่เก็บข้อมูล (Storage Cloud), ตัวคำนวณบนคลาวด์ (instance cloud), CPU หรือ RAM จะแยกส่วนกับแอปพลิเคชันของผู้จำหน่ายที่หลากหลาย โดยใช้ชุดการเขียนแอปพลิเคชัน (APIs) ที่สอดคล้องกัน เพื่อสร้างทรัพยากรเสมือนและเครื่องมือประมวลผลคลาวด์มาตรฐานที่สามารถดูและโต้ตอบระบบได้โดยตรง   ‘OpenStack’ ระบบโครงสร้างพื้นฐานที่มี Community ร่วมกันพัฒนา  ความเปลี่ยนแปลงของ OpenStack ในการจัดการแพลตฟอร์มครั้งใหม่ ด้วยชุดความคิดในการออกแบบเพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของผู้ใช้ ที่เรียกว่า ‘โครงสร้างพื้นฐานแบบเปิด’ หรือ ‘Open Infrastructure’ ในการประชุม OpenStack Summit ครั้งล่าสุดเมื่อปลายเดือนเมษายน 2019 ที่ผ่านมาและอัปเดตความคืบหน้าของการทำงานที่มีการจัดการกับความท้าทายเกิดขึ้น  OpenStack เป็น Open Source ที่พัฒนาขึ้นโดย OpenStack Foundation สุดยอดโครงสร้างพื้นฐานที่เห็นว่าการแบ่งปันชุดข้อมูลและการเข้าถึงเทคโนโลยีมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับผู้ใช้และชุมชน Open Source ซึ่งมีความเคลื่อนไหวในการอัปเดตข้อมูลต่างๆ ทุก 6 เดือน เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานอยู่เสมอ ทำให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานองค์ประกอบใหม่ๆ ที่มีอยู่บนแพลตฟอร์มทั้งด้านประสิทธิภาพ ความมั่นคง และความปลอดภัยสำหรับการสร้าง Public Cloud และ Private Cloud ที่เหมาะสม   OpenStack อนาคตของซอฟต์แวร์ในยุค ‘Open Infrastructure’  ในการประชุม OpenStack Summit จัดขึ้นเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงลำดับความสำคัญและการเปลี่ยนแปลงของ OpenStack โดยมีความมุ่งมั่นในการสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้ใช้งานอยู่เสมอ เพื่อให้แนวโน้มของเทคโนโลยีมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา แต่ปัญหาที่ผ่านของ OpenStack คือการบูรณาการเทคโนโลยีต่างๆ เข้าด้วยกัน ทำให้การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้จะสร้างการบูรณาการที่ดีขึ้นต่อไป  Jonathan Bryce (Executive Director,…

Gartner คาดการณ์ รายได้ Public Cloud จากทั่วโลก เพิ่มขึ้น 17.5% ในปี 2019 นี้!

การให้บริการ Cloud Service เป็นสิ่งที่เราหลายคนได้ยินมากขึ้น เนื่องจากเรามาถึงยุคของ Digital Transformation เหล่าองค์กรทั้งหลายมีการปรับตัว เพื่อจะได้คงความเป็นผู้นำในธุรกิจนั้นๆ ต่อไป และด้วยเหตุนี้ Cloud Service จึงเป็นสิ่งจำเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ธุรกิจบริการ Cloud Service เติบโตมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เรามาลองดูสถิติการคาดการณ์ที่น่าสนใจจาก Gartner, Inc. ผู้นำด้านการวิจัยและให้คำปรึกษาองค์กรระดับโลกกันดีกว่าบริการ Cloud นั้น จะสามารถเติบโตได้ขนาดไหน จากการคาดการณ์ของ Gartner มีข้อมูลว่า อุตสาหกรรมบริการของ Cloud จะเติบโตแบบก้าวกระโดดไปจนถึงปี 2022 โดยที่ตลาดของการให้บริการ Public Cloud จากทั่วโลก คาดว่าจะโตขึ้น 17.5% จากเดิม $182.4 พันล้าน ในปี 2018 เป็น $214.3 พันล้านในปี 2019 เลยทีเดียว ส่วนแบ่งการตลาดที่สามารถเติบโตได้เร็วที่สุดของอุตสาหกรรม Cloud จะตกเป็นของ Infrastructure-as-a-Service (IaaS) ซึ่งในปี 2018…